ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โครงสร้างของการเขียนโปรแกรมภาษา PHP


การเขียน PHP  จะต้องเขียนอยู่ในแท็ก

<?php และ ?>    หรือ     <? และ ?>

แบบที่สองนั้นจะเป็นแท็กแบบย่อซึ่งเครื่องที่ให้บริการฝากเว็บ หรือเครื่องที่จำลองเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้
จะต้องเปิดให้ใช้งานได้ก่อน มิเช่นนั้นจะเกิดการแจ้งเตือนข้อผิดพลาดขึ้นได้

โค๊ด PHP ที่เขียนขึ้นนั้นจะต้องบันทึกเป็นไฟล์ที่มีส่วนขยายเป็น *.php เช่น  index.php

ตัวอย่างคำสั่งแบบที่ 1

<html>
<body>
<?php
$name = “Songchai”
echo “สวัสดีฉันชื่อ “. $name .”<br/>”;
?>
<hr>
ยืนยัน :: <input type=”text” value=”<?php echo $name;?>/>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ดังนี้











การเขียน PHP สามารถที่จะแทรกรวมกับโค๊ด HTML ได้แต่จากตัวอย่างคือจะต้องสร้างไฟล์ที่มีส่วนขยาย หรือชนิดของไฟล์เป็น .php เท่านั้น


ตัวอย่างคำสั่งแบบที่ 2
<html>
<body>
<?
$name = “Songchai”
echo “สวัสดีฉันชื่อ “. $name .”<br/>”;
?>
<hr>
ยืนยัน :: <input type=”text” value=”<?=$name;?>”/>
</body>
</html>

ผลลัพธ์











ถ้าเซิร์ฟเวอร์ไม่เปิดให้ใช้แท็กแบบย่อจะแสดงผลลัพธ์ดังภาพ
หากเป็นการทดสอบบนเครื่องจำลองให้เข้าไปแก้ไขไฟล์ php.ini ดังภาพ




ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องดังนี้











โค๊ด HTML สำหรับแก้หน้าเว็บไม่แสดงภาษาไทย












ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ค้นหาข้อมูล เช่น google, yahoo, msn  แล้วพิมพ์คำว่า html encode utf-8

















จะได้วิธีแก้ไขหน้าเว็บเพจ ดังนี้

<head>
<meta http-equiv=”Content-Type” content=”text/html; charset=utf-8″>
</head>

โค๊ดทั้งหมดบันทึกในไฟล์ index.php ก็จะสามารถแสดงภาษาไทยได้ถูกต้อง
<html>
<head>
<meta http-equiv=”Content-Type” content=”text/html; charset=utf-8″>
</head>
<body>
<?php
$name = “Songchai”
echo “สวัสดีฉันชื่อ “. $name .”<br/>”;
?>
<hr>
ยืนยัน :: <input type=”text” value=”<?php echo $name;?>”/>
</body>
</html>




ข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อยๆ ตอนที่เริ่มเขียนโปรแกรมแรกๆ คือลืมเครื่องหมายปิดท้ายคำสั่ง
ตัวอย่าง
<html>
<head>
<meta http-equiv=”Content-Type” content=”text/html; charset=utf-8″>
</head>
<body>
<?php
$name = “Songchai”
echo “สวัสดีฉันชื่อ “. $name .”<br/>”;
?>
<hr>
ยืนยัน :: <input type=”text” value=”<?php echo $name;?>”/>
</body>
</html>

เมื่อนำโค๊ดนี้ไปรัน จะพบหน้าจอแสดงข้อผิดพลาดดังนี้
Parse error: syntax error, unexpected T_ECHO in D:wwwphp_articlesindex.php on line 8
หากพบข้อความแจ้งข้อผิดพลาด syntax error ให้ตรวจสอบดูว่าบรรทัดที่แจ้งเตือนนั้น มีส่วนไหนที่เขียนไม่ถูกต้องบ้าง ในตัวอย่างนี้คือ ลืมเครื่องหมายสิ้นสุดคำสั่ง
$name = “Songchai”  ต้องแก้โดยใส่ตัว ; ไว้ด้านหลังสุด
$name = “Songchai”;


สรุปเกี่ยวกับโครงสร้างแล้วก็คือ หากไม่แน่ใจว่าเว็บโฮสติ้งที่เราใช้บริการจะเปิดให้ใช้แท็กแบบย่อรึเปล่า และเพื่อป้องกันปัญหาที่จะต้องตามมาแก้ไขโค๊ดทีหลัง
แนะนำว่าให้ใช้แท็กแบบเต็มไปเลยครับ
<?php
//โค๊ดต่างๆ
?>

<?=$name?> ก็ขยันอีกนิดพิมพ์เป็น <?php echo $name;?> แทนละกัน
จะได้ไม่ต้องกังวลกันทีหลัง ^^


"PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต่างหาก"

PHP CI MANIA PHP Code Generator 
โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด ลดเวลาการเขียนโปรแกรม

สนใจสั่งซื้อเพียง 4,500 บาท
http://fastcoding.phpcodemania.com/

สนับสนุนค่ากาแฟผู้เขียนได้ที่

PayPal

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP กับการคิดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็น 5%, 10%, 20% ตามช่วงราคาที่กำหนด

<?php     $total_price = 1000;     $discount = 0;         if($total_price >= 500 && $total_price < 1001){         $discount = 5;     }elseif($total_price >= 1001 && $total_price <= 5000){         $discount = 10;     }elseif($total_price >= 5001){         $discount = 20;     }         $discount_bath = ($total_price*$discount)/100; ?> <pre> ซื้อสินค้าครบ 0 ถึง 499 บาท ไม่ได้ส่วนลด ซื้อสินค้าครบ 500 ถึง 1000 บาท ได้ส่วนลด 5% ซื้อสินค้าครบ 1001 ถึง 5000บาท ได้ส่วนลด 10% ซื้อสินค้าครบ 5001 บาทขึ้นไป ได้ส่วนลด 20% </pre> <h3>รวมราคาสินค้า = <?php echo number_format($total_price,2);?></h3> <h5>ส่วนลด = <?php echo $discount;?>%  (<?php echo $discount_bath;?> บาท)</h5> <h2>ราคาหลังส่วนลด = <?php echo number_format($total_price - $discount_bath,2);?>บาท</h2> "PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต