ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

PHP if else คำสั่งเงื่อนไข และการตัดสินใจด้วย switch...case


ในการเขียนโปรแกรมนั้นสิ่งที่จะต้องเจอบ่อยๆ คือเงื่อนไขการตัดสินใจ เช่นการให้เกรดของอาจารย์ ก็ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขว่า คะแนนเท่าไหร่จะได้เกรดอะไร เช่น
คะแนน เกรด
0 – 49 0
50 – 59 1
60 – 69 2
70 – 79 3
80 – 100 4

รูปแบบการเขียนโค๊ด ดังนี้
ตัดสินใจเงื่อนไขเดียว
if( $score < 50 ){
     echo "<br/>คุณได้เกรด 0";
}

การตัดสินใจแบบหลายเงื่อนไข

<?php
$score = 70;

if( $score >= 80 ){
     echo "คุณได้เกรด A";
}else if( $score >= 70 && $score < 80 ){
     echo "คุณได้เกรด B";
}else if( $score >= 60 && $score < 70 ){
     echo "คุณได้เกรด D";
}else if( $score >= 50 && $score < 60 ){
     echo "คุณได้เกรด D";
}else{
     echo "คุณสอบตก";
}
?>


เขียน PHP การตัดสินใจแบบหลายเงื่อนไข













นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการเขียนที่กระชับ และอ่านเข้าใจง่ายกรณีที่ใช้ตรวจสอบเงื่อนไข และไม่ต้องดำเนินการในโค๊ดยากนัก คือการใช้คำสั่ง switch …… case
<?php
$grade = 'C';

echo 'เกรดที่คุณต้องการคือ เกรด '. $grade;

switch( $grade ){

 case 'A' : 
  echo "คุณจะต้องได้คะแนนตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป";
 break;
 case 'B' : 
  echo "คุณจะต้องได้คะแนน 70 - 79 คะแนน";
 break;
 case 'C' : 
  echo "คุณจะต้องได้คะแนน 60 - 69 คะแนน";
 break;
 case 'D' : 
  echo "คุณจะต้องได้คะแนน 50 - 59 คะแนน";
 break;
 default : 
  echo "คุณแค่ไม่ต้องมาสอบ ไม่ต้องส่งงาน ก็จะิติด 0 ไปเอง ^^";
 break;

}
?>



เขียน PHP การตัดสินใจแบบหลายเงื่อนไขด้วย switch ... case
















switch ….. case นั้นกับการตรวจสอบเงื่อนไขที่ เขียนโค๊ดใน case นั้นไม่กี่บรรทัดเท่านั้นครับ
ถ้าเขียนยาวกว่านั้น จะค่อนข้างสับสน ว่าจบเคสรึยัง (break;) ถ้าหากมีการตรวจสอบแล้วต้องเขียนโค๊ดยาวๆก็ใช้ if ….. else ดีกว่าครับ เข้าใจง่ายกว่าว่าจบเคสที่ไหน เพราะมีวงเล็บปีกกา ( } ) เป็นตัวเปิดปิดคำสั่งให้

สำหรับการใช้ switch case แล้วต้องเขียนโค๊ดยาวจริงๆ
เคยเห็นบางที่เขียนแบบใช้วงเล็กปีกกาด้วยก็ได้นะครับ


<?php
$grade = 'C';

echo 'เกรดที่คุณต้องการคือ เกรด '. $grade;

switch( $grade ){

 case 'A' : {
  echo "คุณจะต้องได้คะแนนตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป";
 break;
 }case 'B' :{ 
  echo "คุณจะต้องได้คะแนน 70 - 79 คะแนน";
 break;
 }case 'C' : {
  echo "คุณจะต้องได้คะแนน 60 - 69 คะแนน";
 break;
 }case 'D' : {
  echo "คุณจะต้องได้คะแนน 50 - 59 คะแนน";
 break;
 }default : {
  echo "คุณแค่ไม่ต้องมาสอบ ไม่ต้องส่งงาน ก็จะติด 0 ไปเอง ^^";
 break;
 }

}
?>
จะเลือกแบบไหนก็ตามแต่สไตล์ละกันนะครับ ว่าต้องตรวจสอบหลายเงื่อนไข หรือว่าเงื่อนไขเดียว
ถ้าเงื่อนไขเดียวแนะนำให้ใช้ switch …. case ครับ แต่ถ้าตรวจสอบหลายเงื่อนไข คงแนะนำให้ใช้ if …. else แทนครับ

เงื่อนไขเดียว คือ ถ้า score เท่ากับ a

<?php
     if( $score > $a){// 1 เงือนไข
          //code
     }
?>


หลาย เงื่อนไข คือ ถ้า score มากกว่า a กับ b หรือมากกว่า c กับ d
<?php
     if( ($score > a && $score > b) || ($score > c && $score > d) ){// 4 เงื่อนไข
          //code
     } else if($score < a || $score < c ){// 2 เงื่อนไข

     }
?>



"PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม
แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต่างหาก"

PHP CI MANIA PHP Code Generator 
โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด ลดเวลาการเขียนโปรแกรม

สนใจสั่งซื้อเพียง 3,990 บาท



PHP CI MANIA PHP Code Generator 

โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด "ลดเวลาการเขียนโปรแกรม"
ราคาสุดคุ้มเพียง 3,990 บาท 
http://www.phpcodemania.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

การดึงข้อมูล MySQL มาแสดงในปฏิทิน Fullcalendar ด้วย PHP

หลักการทำงาน เรียกข้อมูลจากตาราง tb_event ด้วยฟังก์ชั่นของ MySQLi ข้อมูลจากฐานข้อมูลจะถูกวนลูปเก็บไว้ใน $data และจะถูกส่งไปที่ Fullcalendar ด้วยการแปลงข้อมูลจาก PHP ให้อยู่ในรูปแบบ JSON อาร์เรย์ด้วยฟังก์ชั่น json_encode() PHP Code <?php //Database $data = array(); $link = mysqli_connect("127.0.0.1", "tobedev", "1234", "tobedev_example"); mysqli_set_charset($link, 'utf8'); if (!$link) {     echo "Error: Unable to connect to MySQL." . PHP_EOL;     echo "Debugging errno: " . mysqli_connect_errno() . PHP_EOL;     echo "Debugging error: " . mysqli_connect_error() . PHP_EOL;     exit; } $query = "SELECT * FROM tb_event"; if ($result = $link->query($query)) {     /* fetch object array */     while ($obj = $result->fetch_object()) {        $data[] = array(                 ...