ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วันนี้ไม่ได้มาสอน PHP แต่จะลองเขียนเกี่ยวกับเรื่องของ ความสัมพันธ์ของระบบฐานข้อมูล (Database Relationships)

       การสร้างเว็บเพจสำหรับแสดงผลข้อมูลต่างๆ ในภายหลัง หรือเมื่อเวลาที่ผู้ใช้งานต้องการนั้น เราจะต้องเอาไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลก่อน  เขียนเว็บเพจด้วยภาษาที่ทำงานฝั่งเซิร์ฟเวอร์เช่น PHP เพื่อเรียกรายงานต่างๆออกมาแสดง แต่ก่อนที่เราจะได้เขียนโค้ด PHP เพื่อติดต่อกับ ฐานข้อมูล MySQL หรือฐานข้อมูลใดๆนั้น เราก็จะต้องมีฐานข้อมูลอยู่ก่อนแล้ว สำหรับบทความนี้ จะพูดถึงเรื่องความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล แบบให้เห็นภาพง่ายๆ(รึเปล่า?) จากรอบกายเรานี่เอง


1. ความสัมพันธ์แบบ หนึ่งต่อหนึ่ง ( One to One)

    ตัวอย่าง : พนักงานหนึ่งคน กำหนดให้รับผิดชอบงานหลัก เพียงงานเดียว (เป็นที่ปรารถณาของพนักงานทุกคนครับ งานหลักชัดเจน งานรองก็อย่ามากเกินไป แต่บางทีผู้บริหารก็มองว่าใช้ไม่คุ้ม)


2. ความสัมพันธ์แบบ หนึ่งต่อกลุ่ม ( One to Many)

    ตัวอย่าง : พนักงานหนึ่งคน กำหนดให้รับผิดชอบงานหลัก หลายงาน (ซุปเปอร์ออฟฟิศแมน ใช้จนคุ้มกันเลยทีเดียว ถ้าน้อยเนื้อต่ำใจ คิดลาออกขึ้นมา คงหาคนมาทำงานแทนกันให้วุ่น)


3. ความสัมพันธ์แบบ กลุ่มต่อกลุ่ม ( Many to Many) 

    ตัวอย่าง : พนักงาน 10 คน กำหนดให้สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำงาน ในส่วนงานต่างๆ (เป็นการเตรียมพร้อมกับสิ่งที่ไม่คาดคิดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าใครคนใดคนหนึ่งจะลาออกไปก็ไม่กระทบกับงานส่วนนั้นๆ เพราะคนอื่นๆก็ทำได้)






       คิดว่าตัวอย่างนี้คงจะพอทำให้นึกภาพออก แต่ถ้าไม่ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ตัวผมก็ไม่ได้เข้าใจหลักการสักเท่าไหร่ยิ่งอธิบายมากไปก็อาจจะยิ่งเกิดคำถามตามมามากมาย เอาไว้โอกาสต่อไปจะนำเสนอตัวอย่างการออกแบบฐานข้อมูลให้ได้เห็นภาพกันชัดเจนกว่านี้อีกครั้งครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP กับการคิดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็น 5%, 10%, 20% ตามช่วงราคาที่กำหนด

<?php     $total_price = 1000;     $discount = 0;         if($total_price >= 500 && $total_price < 1001){         $discount = 5;     }elseif($total_price >= 1001 && $total_price <= 5000){         $discount = 10;     }elseif($total_price >= 5001){         $discount = 20;     }         $discount_bath = ($total_price*$discount)/100; ?> <pre> ซื้อสินค้าครบ 0 ถึง 499 บาท ไม่ได้ส่วนลด ซื้อสินค้าครบ 500 ถึง 1000 บาท ได้ส่วนลด 5% ซื้อสินค้าครบ 1001 ถึง 5000บาท ได้ส่วนลด 10% ซื้อสินค้าครบ 5001 บาทขึ้นไป ได้ส่วนลด 20% </pre> <h3>รวมราคาสินค้า = <?php echo number_format($total_price,2);?></h3> <h5>ส่วนลด = <?php echo $discount;?>%  (<?php echo $discount_bath;?> บาท)</h5> <h2>ราคาหลังส่วนลด = <?php echo number_format($total_price - $discount_bath,2);?>บาท</h2> "PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต