ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

HTML Form : เรียนรู้ข้อมูลแบบฟอร์ม HTML ก่อนนำไปใช้งานจริง

       ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับรับข้อมูล สิ่งที่จำเป็นจะต้งเรียนรู้ไม่แพ้ PHP เลยนั่นก็คือภาษา HTML อันที่จริงแล้วจะบอกว่าการสร้างเว็บเพจทุกหน้าจะแสดงผลด้วย HTML ถึงจะถูก แต่ในส่วนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้คือส่วนของแบบฟอร์มรับข้อมูล (HTML Form) ซึ่งจะประกอบด้วยช่องรับข้อมูลอยู่หลายชนิดด้วยกัน ดังนี้

       1. ช่องรับข้อมูลแบบป้อนข้อความลงไปในช่องว่าง
           1.1 Text Fields  ช่องรับข้อมูลแบบบรรทัดเดียว <input type="text/password"/>
           1.2 Textarea ช่องรับข้อมูลแบบหลายบรรทัด <textarea></textarea>

       2. ช่องรับข้อมูลแบบตัวเลือก เลือกได้อย่างเดียว
           2.1 Radio Button <input type="radio"/>
           2.2 Select Option <select>...option...</select>
       3. ช่องรับข้อมูลแบบตัวเลือก ที่สามารถเลือกได้หลายตัวเลือก
           3.1 Checkbox  <input type="checkbox"/>
           3.2 Multi Select Option  <select multiple>...option...</select>
       4. ช่องรับข้อมูลแบบซ่อน จะไม่แสดงให้เห็นบนหน้าเว็บเพจ <input type="hidden"/>

  
       มาดูซอร์สโค๊ดและหน้าตา html form กันทีละหัวข้อกันเลยครับ เริ่มจากการสร้างแท็กแบบฟอร์มสำหรับป้อนข้อมูลเพื่อส่งไปบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล
       <form method="POST" action="php-save-data.php">
          .... ตัวเลือกรับข้อมูลต่างๆจะอยู่ในนี้
       </form>

       ในกรณีที่แบบฟอร์มของเราใช้อัพโหลดข้อมูลด้วย จะต้องมีการเพิ่มแอดตทริบิวต์ที่สำคัญอีกตัวเข้าไปในแท็ก <form> ด้วยนั่นก็คือ enctype="multipart/form-data"
       <form method="POST" action="php-save-data.php" enctype="multipart/form-data">
          .... ตัวเลือกรับข้อมูลต่างๆจะอยู่ในนี้
       </form>

 

       1. ช่องรับข้อมูลแบบป้อนข้อความลงไปในช่องว่าง

            ในส่วนนี้จะมีอินพุตอยู่ 2 ตัวที่ใช้รับค่านี้นั่นก็คือ Type ที่เป็นแบบ Text,Password และตัวรับค่าที่เป็น TextArea

            1.1 ช่องรับข้อมูลแบบบรรทัดเดียว Text Fields จะมีอยู่ 2 ชนิดคือ type="text" และ type="password"

                  
 <!DOCTYPE html>
<html>
<body>
    <form action="php-login-form.php">
        <table>
            <tr>
                <td>ชื่อล็อกอิน : </td>
                <td><input type="text" name="txt_uname" value=""></td>
            </tr>
            <tr>
                <td>รหัสผ่าน : </td>
                <td><input type="text" name="txt_upass" value=""></td>
            </tr>
            <tr>
                <td></td>
                <td><input type="submit" value="ล็อกอิน"></td>
            </tr>
        </table>
    </form>
</body>
</html>

        2. ช่องรับข้อมูลแบบหลายบรรทัด Textarea



<!DOCTYPE html>
<html>
<body>     <form action="php-save-data.php">
        <h4>ช่องรับข้อมูลแบบหลายบรรทัด</h4>
        <textarea rows="4" cols="50">
พีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว
        </textarea>
    </form>
</body>
</html>



ติดตามหัวข้อต่อไปได้ที่ "ช่องรับข้อมูลแบบตัวเลือก เลือกได้อย่างเดียว"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP กับการคิดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็น 5%, 10%, 20% ตามช่วงราคาที่กำหนด

<?php     $total_price = 1000;     $discount = 0;         if($total_price >= 500 && $total_price < 1001){         $discount = 5;     }elseif($total_price >= 1001 && $total_price <= 5000){         $discount = 10;     }elseif($total_price >= 5001){         $discount = 20;     }         $discount_bath = ($total_price*$discount)/100; ?> <pre> ซื้อสินค้าครบ 0 ถึง 499 บาท ไม่ได้ส่วนลด ซื้อสินค้าครบ 500 ถึง 1000 บาท ได้ส่วนลด 5% ซื้อสินค้าครบ 1001 ถึง 5000บาท ได้ส่วนลด 10% ซื้อสินค้าครบ 5001 บาทขึ้นไป ได้ส่วนลด 20% </pre> <h3>รวมราคาสินค้า = <?php echo number_format($total_price,2);?></h3> <h5>ส่วนลด = <?php echo $discount;?>%  (<?php echo $discount_bath;?> บาท)</h5> <h2>ราคาหลังส่วนลด = <?php echo number_format($total_price - $discount_bath,2);?>บาท</h2> "PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต