ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเขียนโปรแกรม PHP กับการใช้งานฟังก์ชั่น isset()


การเขียนโปรแกรม php กับการใช้ function isset

 การเขียนโปรแกรม PHP มีฟังก์ชั่นอาจจะยอดฮิต (หรือเพียงแค่จำเป็น) ที่ใช้กันปัจจุบันนี้คือ isset() ถ้าโปรแกรมที่ใช้ซอร์สโค๊ดเก่า และนำไปรันกับเซิร์ฟเวอร์ใหม่ PHP ก็จะเป็นเวอร์ชั่นใหม่ตาม ทำให้การตั้งค่าการแสดง Error เปลี่ยนไปการเรียกใช้ตัวแปรที่ไม่มีอยู่จริง จะเกิดเป็นข้อผิดพลาดขึ้นเต็มหน้าเว็บเพจให้ได้อับอายกันไปเลยทีเดียว



ถ้าจะลองเปรียบเทียบ ก็คงจะคล้ายกับการที่เราถอดเงินโดยที่ลืมตรวจสอบยอดเงินในบัญชีก่อนกดจำนวนเงิน ก็จะทำให้เราหน้าแตกได้เช่นกัน

ดังนั้นการเขียนโปรแกรม PHP ปัจจุบันจึงต้องมีการตรวจสอบชื่อตัวแปรที่เรียกใช้งานทุกครั้งที่ไม่แน่ใจว่าตัวแปรนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ เช่น เรารับค่าจากฐานข้อมูลซึ่งกำหนดให้สร้าง index หรือคีย์ของอาร์เรย์ตามค่าในฟิลด์ แล้วเกิดข้อมูลบางแถวไม่มีค่า หรือเป็นค่าว่าง ก็จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดตอนเรียกใช้อารเรย์แถวนั้นๆได้

และการเรียกใช้ $_SESSION ก็เช่นกัน บางครั้งอาจจะไม่ได้ล็อกอิน หรือยังไม่มีการสร้าง $_SESSION นั้นๆขึ้นมา แต่มีโค๊ดตรวจสอบ index ที่ไม่มีอยู่จริงก็ทำให้เกิดข้อความแจ้งข้อผิดพลาดขึ้นได้


<?php
$user = (isset($_SESSION['username'])) ? $_SESSION['username'] : '';
if($user == ''){ 
 echo "คุณยังไม่ได้ล็อกอิน";
 exit();
}else{
 echo "สวัสดีครับ คุณ". $_SESSION['username'];
}
?>


PHP CI MANIA PHP Code Generator 
โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด ลดเวลาการเขียนโปรแกรม

สนใจสั่งซื้อเพียง 4,500 บาท
http://fastcoding.phpcodemania.com/



สนับสนุนค่ากาแฟผู้เขียนได้ที่

PayPal

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

การดึงข้อมูล MySQL มาแสดงในปฏิทิน Fullcalendar ด้วย PHP

หลักการทำงาน เรียกข้อมูลจากตาราง tb_event ด้วยฟังก์ชั่นของ MySQLi ข้อมูลจากฐานข้อมูลจะถูกวนลูปเก็บไว้ใน $data และจะถูกส่งไปที่ Fullcalendar ด้วยการแปลงข้อมูลจาก PHP ให้อยู่ในรูปแบบ JSON อาร์เรย์ด้วยฟังก์ชั่น json_encode() PHP Code <?php //Database $data = array(); $link = mysqli_connect("127.0.0.1", "tobedev", "1234", "tobedev_example"); mysqli_set_charset($link, 'utf8'); if (!$link) {     echo "Error: Unable to connect to MySQL." . PHP_EOL;     echo "Debugging errno: " . mysqli_connect_errno() . PHP_EOL;     echo "Debugging error: " . mysqli_connect_error() . PHP_EOL;     exit; } $query = "SELECT * FROM tb_event"; if ($result = $link->query($query)) {     /* fetch object array */     while ($obj = $result->fetch_object()) {        $data[] = array(                     'id' => $obj->id,                     'title'=> $obj->titl