ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนะนำปลั๊กอินที่น่าสนใจ firebug และ firepicker

ในการเขียนโปรแกรมนั้น สิ่งที่หนีไม่พ้นคือการตรวจสอบความถูกต้องของโค๊ด และเมื่อผลลัพธ์ที่ได้มาไม่ตรงกับโปรแกรมที่เราต้องการให้ทำงาน ก็ต้องมาไล่หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร มีข้อผิดพลาดตรงส่วนไหนบ้าง (ซึ่งเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะแจ้งเสมอว่าเป็นที่บรรทัดไหน ไฟล์ไหนบ้าง)



แต่เมื่อการเขียนโปรแกรมเว็บแอพพลิเคชั่นทำงานร่วมกับ Ajax ที่มีการรับส่งค่าอยู่เบื้องหลัง มันจะไม่แสดงข้อผิดพลาดออกมาในกรณีที่โค๊ดที่เขียนนั้นทำงานผิดพลาด

ดังนั้นการใช้ปลั๊กอินที่ชื่อ firebug จะช่วยให้การไล่ล่าหาบักนั้น ทำได้ง่ายขึ้น เพราะทุกครั้งที่เกิดข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลแบบ Ajax จะมีข้อความสีแดงแจ้งเตือนที่แถบ Console ด้านล่างเสมอ ช่วยให้ไม่ต้องไล่ Alert หาจุดที่เกิดปัญหาให้เมื่อยตา

สำหรับปลั๊กอินอีกตัวคือ firepicker จะช่วยในเรื่องของการเลือกสีให้ตรงกับความต้องการโดยที่เราไม่ต้องไปหาโค๊ดสีให้ยุ่งยาก เมื่อก่อนจะต้องเปิด google เพื่อค้นหาเว็บรวมสีมาใช้งานตลอด แต่ด้วยปลั๊กอินตัวนี้เราเพียงแค่จิ๊มลงไปบนสีที่ต้องการเปลี่ยน แล้วเลือกสีใหม่ที่ต้องการได้เลย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP กับการคิดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็น 5%, 10%, 20% ตามช่วงราคาที่กำหนด

<?php     $total_price = 1000;     $discount = 0;         if($total_price >= 500 && $total_price < 1001){         $discount = 5;     }elseif($total_price >= 1001 && $total_price <= 5000){         $discount = 10;     }elseif($total_price >= 5001){         $discount = 20;     }         $discount_bath = ($total_price*$discount)/100; ?> <pre> ซื้อสินค้าครบ 0 ถึง 499 บาท ไม่ได้ส่วนลด ซื้อสินค้าครบ 500 ถึง 1000 บาท ได้ส่วนลด 5% ซื้อสินค้าครบ 1001 ถึง 5000บาท ได้ส่วนลด 10% ซื้อสินค้าครบ 5001 บาทขึ้นไป ได้ส่วนลด 20% </pre> <h3>รวมราคาสินค้า = <?php echo number_format($total_price,2);?></h3> <h5>ส่วนลด = <?php echo $discount;?>%  (<?php echo $discount_bath;?> บาท)</h5> <h2>ราคาหลังส่วนลด = <?php echo number_format($total_price - $discount_bath,2);?>บาท</h2> "PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต