ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สร้างระบบล็อกอิน เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยของข้อมูล

       ไม่ว่าจะเริ่มต้นสร้างโปรแกรมใดๆ มาใช้งานเอง หรือจะเผยแพร่ให้คนอื่นได้ใช้กันนั้น คนที่ใช้โปรแกรมย่อมต้องการเรื่องความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูลที่ไม่อยากให้ผู้อื่นมาอ่าน หรือนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นบทความนี้จะเป็นการแนะนำการสร้างระบบล็อกอินแบบง่ายๆ ที่ใช้งานได้จริงเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลขั้นต้นสำหรับโปรแกรมอื่นๆ ที่เราจะพัฒนาขึ้นมาใช้กัน



รูปที่ 1 แผนผังแสดงการตรวจสอบสิทธิ์เข้าใช้งานโปรแกรม




       การออกแบบฐานข้อมูลผู้ใช้งาน หรือสมาชิกของระบบที่เราพัฒนาขึ้นมานั้น เราสามารถกำหนดได้เองว่าต้องการเก็บข้อมูลอะไรบ้าง จะเก็บมากเก็บน้อยก็ตามแต่ความต้องการของแต่ละระบบงานที่ต่างกัน กรณีที่เป็นเว็บไซต์ที่มีระบบสมาชิก แต่ไม่อยากให้เกิดความยุ่งยากกับการต้องกรอกข้อมูลประวัติมากมาย ก็ทำแบบฟอร์มเก็บเพียงแค่ข้อมูลหลัก แล้วค่อยเก็บรายละเอียดทั่วไปอีกครั้ง เมื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบแล้ว



รูปที่ 2 ตัวอย่างการสร้างตารางสมาชิก



รูปที่ 3 ตัวอย่างข้อมูลสมาชิกสำหรับใช้ล็อกอิน


ในฐานข้อมูลตัวอย่างนี้ จะสร้างตารางเก็บข้อมูลชื่อ tb_user โดยมีฟิลด์หลัก 3 ฟิลด์ คือ

1. ชื่อล็อกอิน
2. รหัสผ่าน
3. ชื่อนามสกุลเต็ม


นอกจากนั้นแล้วจะเป็นข้อมูลทั่วไปที่ท่านต้องการ เช่น อาจจะเก็บ รหัสสมาชิก สำหรับทำบาร์โค๊ด ชื่อเล่นสำหรับใช้แสดงเท่ห์ๆ ประวัติการศึกษา ประวัติส่วนตัว ซึ่งจะเพิ่มได้ตามความต้องการก็อยู่ที่ว่าระบบของท่านจำเป็นต้องใช้ข้อมูลพวกนี้หรือไม่ หากต้องการก็เพิ่มฟิลด์ไปอีกเรื่อยๆ

รูปที่ 4 ตัวอย่างฟิลด์ที่เพิ่มเข้าไปใหม่


สำหรับวิธีการเก็บข้อมูลอื่นๆ ของสมาชิกนั้นมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะทีเดียวครับ ซึ่งการเพิ่มฟิลด์ไปเรื่อยๆนั้น เป็นวิธีที่ง่าย และสะดวกรวดเร็ว เวลาดึงข้อมูลทั้งหมดออกมา ก็เอามาแสดงได้เลย แต่กรณีที่ข้อมูลมีมากเกินไปหลายสิบฟิลด์ จนอาจจะถึงร้อยฟิลด์ เช่น หากต้องเก็บข้อมูลที่อยู่ด้วย แล้วแต่ละคน ก็อาจจะมีที่อยู่มากว่า 1 ที่อยู่ เมื่อฟิลด์เยอะขึ้น เวลาเรียกข้อมูลจะทำให้ความเร็วลดลง มันจะทำให้เกิดภาวะฐานข้อมูลใหญ่เกินไปได้

ดังน้ัน เราจำเป็นจะต้องแยกตารางย่อยออกไปอีกสัก สองสามตาราง เพื่อเก็บข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติม เช่น สร้างฐานข้อมูลที่อยู่ ประวัติการศึกษา ประวัติอื่นๆ แยกออกมา เหมือนเป็นการแบ่งหมวดหมู่ ฐานข้อมูลของเราก็จะดูเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้น


สำหรับเรื่องการออกแบบฐานข้อมูลนั้น จะเอาไว้มานำเสนอในบทความหน้าหลังจากจบเรื่องระบบการล็อกอินนี้นะครับ ซึ่งระบบล็อกอินนั้นจะมีอีกประมาณ 3 บทความครับ เพราะเรายังไม่ได้เริ่มในส่วนแล็บที่จะมาทดสอบสร้างระบบจริง ซึ่งจะเรียงลำดับตามนี้คือ

1. สร้างฐานข้อมูลสมาชิก
2. สร้างหน้าเพจเขียนโค๊ด php สำหรับล็อกอินเข้าใช้งาน
3. ปรับแต่งระบบ และทดสอบการทำงาน

ซึ่งจะนำเสนอในบทความต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

การดึงข้อมูล MySQL มาแสดงในปฏิทิน Fullcalendar ด้วย PHP

หลักการทำงาน เรียกข้อมูลจากตาราง tb_event ด้วยฟังก์ชั่นของ MySQLi ข้อมูลจากฐานข้อมูลจะถูกวนลูปเก็บไว้ใน $data และจะถูกส่งไปที่ Fullcalendar ด้วยการแปลงข้อมูลจาก PHP ให้อยู่ในรูปแบบ JSON อาร์เรย์ด้วยฟังก์ชั่น json_encode() PHP Code <?php //Database $data = array(); $link = mysqli_connect("127.0.0.1", "tobedev", "1234", "tobedev_example"); mysqli_set_charset($link, 'utf8'); if (!$link) {     echo "Error: Unable to connect to MySQL." . PHP_EOL;     echo "Debugging errno: " . mysqli_connect_errno() . PHP_EOL;     echo "Debugging error: " . mysqli_connect_error() . PHP_EOL;     exit; } $query = "SELECT * FROM tb_event"; if ($result = $link->query($query)) {     /* fetch object array */     while ($obj = $result->fetch_object()) {        $data[] = array(                     'id' => $obj->id,                     'title'=> $obj->titl