ข้อมูลชนิดอาร์เรย์
ข้อมูลอาร์เรย์ เป็นรูปแบบข้อมูลที่มีความสำคัญมาก กับงานเขียนโปรแกรม จะใช้เก็บข้อมูลที่มีหลายมิติ หรือจะให้เข้าใจง่ายๆ ให้มองภาพของตาราง ที่มีหลายๆคอลัมน์ เช่น นักเรียน 1 คนมีข้อมูล ชื่อ นามสกุล ชั้นเรียน เกรดเฉลี่ย ที่อยู่ และข้อมูลอีกหลายอย่าง ดังนั้นการจะประกาศตัวแปรตามจำนวนข้อมูลทุกตัวนั้น จะเสียเวลาและเปลืองตัวแปรอย่างมาก
ดังนั้น การประกาศตัวแปรให้เป็นแบบ Array จึงช่วยให้งานเขียนโปรแกรมนั้นดูเป็นระเบียบเรียบร้อย และยังเรียกใช้งานได้สะดวก อย่างเช่นการดึงข้อมูลนักเรียนจากฐานข้อมูล เรามักจะพักข้อมูลไว้ในตัวแปรซึ่งจะเป็นแบบ Array เสมอ
ตัวอย่างการสร้างข้อมูลแบบ Array ในภาษา PHP
<?php $student['computer'] = array( array('name'=>'นางสาวณริณี ศักดิ์ดา', 'grade'=>'3.01', 'tel'=>'081-234-5678'), array('name'=>'นายณรงศักด์ อ่อนไหว', 'grade'=>'2.79', 'tel'=>'081-234-5679'), array('name'=>'นายทรงพล ยืนยง', 'grade'=>'2.56', 'tel'=>'081-234-5680'), ); ?>
ในตัวอย่างจะเป็นข้อมูลนักเรียน 3 คน ที่เรียนในสาขาคอมพิวเตอร์
ซึ่งแต่ละคนจะมีข้อมูล ชื่อ เกรดเฉลี่ย และเบอร์โทร
การที่เราจะแสดงข้อมูลออกมานั้น จะต้องทำการวนลูปให้ครบทุกแถว
ซึ่งวิธีที่ผมใช้บ่อยที่สุดคือ การใช้ foreach()
<?php echo '<table border="1" cellpadding="3" cellspacing="0">'; echo '<tr style="background-color: #aaaaaa;">'; echo '<th>ชื่อ-นามสกุล</th><th>เกรดเฉลี่ย</th><th>เบอร์โทรศัพท์</th>'; echo '</tr>'; foreach($student['computer'] as $arr){ echo '<tr>'; echo '<td>'.$arr['name'].'</td>'; echo '<td>'.$arr['grade'].'</td>'; echo '<td>'.$arr['tel'].'</td>'; echo '</tr>'; } echo '</table>'; ?>
ได้ผลลัพธ์ ดังนี้
ตัวอย่างที่ 2
<?php $status1 = 'new'; $status2 = 'read'; $status3 = 'reply'; $statusText = array('new' => 'ข้อความใหม่', 'read' => 'อ่านแล้ว', 'reply' => 'ตอบกลับ'); echo 'ข้อความที่ 1 สถานะ = '. $status1 . ' >> '. $statusText[$status1]; echo 'ข้อความที่ 2 สถานะ = '. $status2 . ' >> '. $statusText[$status2]; echo 'ข้อความที่ 3 สถานะ = '. $status3 . ' >> '. $statusText[$status3]; <br> ?>
ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นการเช็กสถานะข้อความ
ลองเปรียบเทียบตัวแปรปกติ กับตัวแปรอาร์เรย์กับกล่องเก็บของใบหนึ่ง
ถ้ากำหนดให้กล่อง
1
ใบ
บรรจุของได้เพียงชิ้นเดียว
ตัวแปร $box
ก็จะเก็บได้แค่หนังสือเล่มเดียว
หรือของเล่นชิ้นเดียว
หรืออะไรก็แล้วแต่ได้เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น
ไม่สามารถเก็บของที่เกลื่อนกลาดดาษเดื่อนบนพื้นห้องที่แสนรกรุงรังได้หมด
วิธีการแก้ปัญหานี้สามารถทำได้โดยการนำกล่องหลายๆกล่องมาวางเรียงกัน
ก็จะสามารถเก็บของชิ้นที่เหลือได้ทั้งหมด
เหลือของกี่ชิ้นก็นำกล่องมาเพิ่มตามจำนวน
เช่น
<?php
$box[0]
= “Book”;
$box[1]
= “Clock”;
$box[2]
= “Gundum”;
$box[3]
= “Pen”;
$box[4]
= “Cap”;
?>
ประกาศตัวแปรอาร์เรย์แบบสั้นๆ
ได้ดังนี้
<?php
$box
= array(“Book”,
“Clock”,
“Gundum”,
“Pen”,
“Cap”);
?>
สำหรับตัวแปร
Array
นั้นเราไม่สามารถแสดงข้อมูลออกมาด้วยคำสั่ง
echo
แบบปกติได้
เพราะข้อมูลถูกเก็บไว้ในตำแหน่งต่างๆ
ที่ไม่สามารถนำมาแสดงได้
ก็ต้องใช้การวนลูปเลือกมาแสดงทีละลำดับโดยเริ่มจากกล่องแรกที่จะอยู่ในตำแหน่ง
0
เสมอ
ในที่นี้ก็คือ Book
นั่นเอง
สำหรับตัวอย่างการวนแสดงผลทีละรอบนั้น
ดูได้จากตัวอย่าง PHP กับการทำซ้ำ
"PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต่างหาก"
PHP CI MANIA - PHP Code Generator
โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด ลดเวลาการเขียนโปรแกรม
สนับสนุนค่ากาแฟผู้เขียนได้ที่
ตัวอย่างการใช้งานเพิ่มเติม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น