ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ติดตั้ง PHP 7.0.x สำหรับ IIS 7.5 บน Windows Server 2008 R2 64bit

สรุปขั้นตอนการอัพเกรด PHP เป็นเวอร์ชั่น 7 แบบคร่าวๆ นะครับ
สำหรับท่านใดที่ใช้ IIS เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์บนระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 R2  64bit ก็สามารถใช้ขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลย ซึ่ง IIS สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 R2 จะได้เป็นเวอร์ชั่น 7.5 และเมื่อติดตั้ง PHP จะได้เวอร์ชั่น PHP 5.3 

ติดตั้ง PHP เพื่อใช้งาน PHP บน IIS Web Server (Windows Server 2008)

หลังจากที่ปลายปีที่แล้ว PHP ได้ปล่อยเวอร์ชั่น 7 ออกมา ซึ่งเท่าที่เก็บข้อมูลมาแล้วเห็นว่าประสิทธิภาพดีกว่าทุกรุ่น จึงสนใจที่จะอัพเกรดเป็น PHP 7.0.13 ที่เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด แต่เมื่อดาวน์โหลดมาใช้กลับไม่สามารถสั่งให้เว็บเซิร์ฟเวอร์รันได้ ก็เลยเปลี่ยนเป็นใช้วิธีติดตั้งเวอร์ชั่นที่มีใน Web Platform Installer แทน ซึ่งก็ได้เป็น PHP 7.0.9 มาแทน

สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง PHP เวอร์ชั่นอื่นเพิ่มเติมก็มีดังนี้ครับ

1. ติดตั้ง PHP เวอร์ชั่น 7 สำหรับ IIS ผ่านทาง Web Platform Installer
https://sysadmin.psu.ac.th/…/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-u…/


แต่หลังจากตั้งค่าผ่าน PHP Manager ใน IIS จะพบว่ายังไม่สามารถใช้งานได้ เพราะการจะรัน PHP 7.0.x ได้นั้นต้องมี VC14 ด้วย (Visual C++ Redistributable for Visual Studio 2015)
http://comerror.com/runtime-l1-1-0-dll-is-missing.html

แต่การจะติดตั้ง VC14 ได้นั้นระบบปฏิบัติการจะต้องอัพเกรดเป็น Service Pack 1 ก่อน

2. อัพเกรด Windows Server เป็น SP1 (ค้นหาด้วยคำว่า Windows Server 2008 R2 SP1)
https://www.microsoft.com/th-th/download/details.aspx?id=5842

3. ติดตั้ง VC14 จะเป็นเวอร์ชั่น Visual C++ Redistributable for Visual Studio 2015
Visual C++ Redistributable for Visual Studio 2015
https://www.microsoft.com/en-us/download/details.aspx?id=48145


หลังจากนั้นก็รันเปลี่ยนเวอร์ชั่นไปมาระหว่าง 5.3 กับ 7.0 ด้วย PHP Manager ใน IIS ได้ตามสะดวก ^^" ซึ่งตอนนี้ได้ลองทดสอบใน VMWare แล้วผ่านฉลุย ต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนการเปลี่ยนโค้ดจาก PHP 5.3 ไปเป็น PHP 7.0 โดยการไล่แก้คำสั่งหรือฟังก์ชั่นที่ถูกยกเลิกไปแล้ว

ซึ่งงานตรงนี้คงจะใช้เวลาค่อนข้างนานทีเดียว แต่ก็ลดเวลาในส่วนของการจัดการฐานข้อมูลได้หน่อยเพราะผมใช้คลาสที่เขียนแยกเอาไว้ ก็ไม่ต้องไปไล่แก้คำสั่งที่เกี่ยวกับฐานข้อมูลทุกหน้า แค่แก้ที่คลาสที่เดียวก็จบเลย (ตรงนี้แหละครับเป็นจุดที่ผมอยากเปลี่ยนไปใช้ CodeIgntier เพราะเราไม่ต้องแก้อะไรเลย ^^ เวลาเปลี่ยนเวอร์ชั่น PHP หรือเปลี่ยนฐานข้อมูล ถ้าใช้ Class ที่มีอยู่แล้วของ Framework)


ท่านใดที่ใช้ Windows Server ก็ลองสร้าง VM สักตัวแล้วลองทำตามขั้นตอนนี้กันดูนะครับ ^^

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP กับการคิดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็น 5%, 10%, 20% ตามช่วงราคาที่กำหนด

<?php     $total_price = 1000;     $discount = 0;         if($total_price >= 500 && $total_price < 1001){         $discount = 5;     }elseif($total_price >= 1001 && $total_price <= 5000){         $discount = 10;     }elseif($total_price >= 5001){         $discount = 20;     }         $discount_bath = ($total_price*$discount)/100; ?> <pre> ซื้อสินค้าครบ 0 ถึง 499 บาท ไม่ได้ส่วนลด ซื้อสินค้าครบ 500 ถึง 1000 บาท ได้ส่วนลด 5% ซื้อสินค้าครบ 1001 ถึง 5000บาท ได้ส่วนลด 10% ซื้อสินค้าครบ 5001 บาทขึ้นไป ได้ส่วนลด 20% </pre> <h3>รวมราคาสินค้า = <?php echo number_format($total_price,2);?></h3> <h5>ส่วนลด = <?php echo $discount;?>%  (<?php echo $discount_bath;?> บาท)</h5> <h2>ราคาหลังส่วนลด = <?php echo number_format($total_price - $discount_bath,2);?>บาท</h2> "PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต