ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มต้นเขียน PHP ยังไงดี?

เริ่มต้นเขียน PHP ยังไงดี?


"จะเริ่มจากตรงไหนดี" เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจหลายๆท่าน เมื่อต้องเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างหนึ่ง

สำหรับการเขียนโปรแกรมแล้ว จริงๆตามหลักสูตร 4ปี ในรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว จะต้องเรียนรู้หลายอย่าง อัลกอริทึม การออกแบบฐานข้อมูล การควบคุมโครงการ หลักการเขียนโปรแกรม อะไรต่อมิอะไรเยอะแยะที่ต้องใช้เวลาถึง 4 ปีเพื่อพื้นฐานที่ครอบคลุมทั้งหมด

แต่สำหรับการเรียนรู้แบบเร่งรัดด้วยตัวเองนั้น ผมขอแนะนำดังนี้

กรณีที่ไม่ได้รีบร้อน

ให้ท่านตรงไปที่ร้านหนังสือแล้วไปยังโซนหนังสือคอมพิวเตอร์ แล้วเลือกเล่มที่ระบุว่าเป็นคู่มือ หรือ PHP พื้นฐานอะไรประมาณนี้ แล้วซื้อเก็บไว้สัก 1 เล่ม อ่านผ่านๆไปหนึ่งรอบเพื่อดูภาพรวม

จากนั้นก็อ่านอีกรอบโดยทำตามตัวอย่างทุกบทไปเรื่อยๆ เมื่อทำครบท่านจะรู้สึกได้เองว่า ต้องทำอะไรสักอย่างที่นอกเหนือจากที่มีในหนังสือเล่มนี้ เราก็จะถึงขั้นตอนต่อไป

กรณีที่มีเวลาจำกัด หรืออยากจะทำโปรเจ็กต์เร่งด่วน

ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ดาวน์โหลดซอร์สโค้ดที่แจกให้ใช้มาลองใช้งานดู และปรับแต่งส่วนต่างๆให้เข้ากับงานของตัวเอง ซึ่งตรงนี้ถ้ายังรู้สึกว่ายากเกินไป ก็ให้เริ่มจากทำตาม Workshop ง่ายๆก่อน เช่น


PHP สร้างระบบตะกร้า Shopping Cart ด้วย Session และ Array (ใช้กับเวอร์ชั่น PHP 5.3,5.4)
http://www.thaicreate.com/free-web-script/php-shopping-cart-session-array.html

(ใช้กับเวอร์ชั่น PHP > 5.5 ขึ้นไป)
PHP กับ MySQL (mysqli function) สร้าง Shopping Cart ตะกร้าสินค้า ง่าย ๆ
http://www.thaicreate.com/community/php-mysql-mysqli-shopping-cart.html

พื้นฐานที่ต้องมีสำหรับทำ Workshop 

ก็จะเป็นเรื่องของการเพิ่ม/แสดง/แก้ไข/ลบข้อมูล หรือที่เรียกง่ายๆว่า CRUD
Create, Read, Update, Delete (CRUD)


ซึ่งมีรวมไว้แล้วในหน้านี้ จะใช้สำหรับ PHP 5.5 ขึ้นไป

ถ้ายังเขียนเวอร์ชั่นเก่าอยู่จะทำยังไง (PHP เวอร์ชั่น 5.3-5.4)

1. เริ่มจากการ "เพิ่มข้อมูล"  ( C )
PHP MySQL Add/Insert Record

2. และการ "แสดง และ แก้ไขข้อมูล"   ( R , U)
PHP MySQL Edit/Update Data Record
ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็จะได้เรียนรู้วิธีดึงข้อมูลมาแสดงด้วยคำสั่ง SELECT

3. และสุดท้ายการ "ลบข้อมูล"   ( D )
PHP MySQL Delete Record


นอกจากนี้ก็ยังมีพื้นฐานอื่นๆ ให้ศึกษาในเว็บไซต์ต่างๆมากมายเพียงค้นหาคำว่า "PHP เบื้องต้น" หรือจะลิงค์ไปที่บทความเก่าๆของบล็อกผมเองก็ได้ ที่ http://sunzandesign.blogspot.com/p/php-basic.html

หรือจะติดตามจาก PlayList นี้ก็ได้ ^O^




เราจะค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตอย่างไรจึงจะเจอคำตอบที่ใช่?

เรื่องนี้ไม่ยากครับ เพียงแต่ต้องพยายามเลือกคำที่ตรงกับสิ่งที่ต้องการให้มากที่สุด เช่น ถ้าเราต้องการฟังก์ชั่นหรือคำสั่งที่เกี่ยวกับวันที่ อย่างการแปลงวันที่สากลเป็นวันที่แบบตัวอักษรไทย เราก็พิมพ์คำว่า PHP นำหน้าไปก่อนเลยทุกครั้ง

PHP วันที่ไทย

เพียงแค่นี้ก็จะมีบทความให้เลือกอ่านเยอะแยะกันเลยทีเดียวครับ ก็ให้เลือกบทความที่ใหม่ล่าสุดไว้ก่อนละกัน ในกูเกิ้ลจะระบุวันที่อยู่ด้านหน้าครับว่าสร้างไว้เมื่อไหร่ อาจจะเลือก เครื่องมือค้นหา แล้วเรียงตามวันที่ก็ได้ครับ


นอกจากนี้ ก็หาได้จากการกำหนดเว็บไซต์ที่ต้องการอย่างเจาะจงได้โดยการต่อชื่อเว็บไว้ด้านท้ายครับ

PHP วันที่ไทย thaicreate.com

หรือถ้าหาไม่เจอจริงๆ ก็ให้ต่อท้ายด้วยเว็บนี้ครับ StackOverflow.Com เพียงแต่ว่าต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษก่อนนะครับ 

PHP date format stackoverflow.com

ซึ่งส่วนใหญ่ผมจะใช้กรณีค้นหาบทความภาษาไทยไม่เจอเท่านั้น เพราะอ่านยากครับ ^O^

สำหรับวิธีฝึกเขียน PHP ด้วยตนเองแบบคร่าวๆ ก็มีเพียงเท่านี้ครับ ท่านใดมีวิธีน่าสนใจก็อย่าลืมคอมเมนต์ไว้ท้ายบทความแนะนำกันได้นะครับ


PHP CI MANIA PHP Code Generator 
โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด ลดเวลาการเขียนโปรแกรม

สนใจสั่งซื้อเพียง 4,500 บาท
http://fastcoding.phpcodemania.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP กับการคิดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็น 5%, 10%, 20% ตามช่วงราคาที่กำหนด

<?php     $total_price = 1000;     $discount = 0;         if($total_price >= 500 && $total_price < 1001){         $discount = 5;     }elseif($total_price >= 1001 && $total_price <= 5000){         $discount = 10;     }elseif($total_price >= 5001){         $discount = 20;     }         $discount_bath = ($total_price*$discount)/100; ?> <pre> ซื้อสินค้าครบ 0 ถึง 499 บาท ไม่ได้ส่วนลด ซื้อสินค้าครบ 500 ถึง 1000 บาท ได้ส่วนลด 5% ซื้อสินค้าครบ 1001 ถึง 5000บาท ได้ส่วนลด 10% ซื้อสินค้าครบ 5001 บาทขึ้นไป ได้ส่วนลด 20% </pre> <h3>รวมราคาสินค้า = <?php echo number_format($total_price,2);?></h3> <h5>ส่วนลด = <?php echo $discount;?>%  (<?php echo $discount_bath;?> บาท)</h5> <h2>ราคาหลังส่วนลด = <?php echo number_format($total_price - $discount_bath,2);?>บาท</h2> "PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต