ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทำความรู้จักกับ HTML

       การสร้างเว็บไซต์ที่มีหน้าตาสวยงามให้เห็นกันนั้น ที่จริงแล้วเบื้องหลังประกอบด้วยโค๊ด HTML ต่างๆมากมายเพื่อจัดรูปแบบการแสดงผลต่างๆให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ จะบอกว่า HTML คือคำสั่งในการจัดหน้ากระดาษ และรูปแบบการแสดงผลในหน้ากระดาษ หรือหน้าเว็บนั้นๆก็ว่าได้






       สำหรับการเขียนโค๊ดนั้นจะต้องมีการสร้างแท็กเปิด และแท็กปิด ครอบข้อความหรือโค๊ดคำสั่งนั้นๆไว้เสมอ เพื่อให้เว็บบราวเซอร์รู้ว่านั่นคือคำสั่ง HTML นะ ไม่ใช่ข้อความธรรมดา
       หากว่าเราพิมพ์คำสั่ง HTML ไม่ถูกต้องตามไวยากรณ์หรือ Syntax ที่กำหนดไว้ คำสั่งนั้นก็จะกลายเป็นข้อความธรรมดาแสดงออกมาให้เห็นเท่านั้น ไม่ได้เป็นคำสั่งจัดรูปแบบของ HTML เช่นต้องการ


ตัวอย่างโค๊ด HTML






โค๊ด HTML ที่เห็นด้านบนนี้เป็นตัวอย่างโค๊ดที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะยังมีเรื่องของการจัดวางด้านซ้าน กลาง ขวา การเปลี่ยนขนาดตัวอักษร การใส่สี ใส่ภาพ ใส่ลิงค์ แทรกตาราง ซึ่งมีรายละเอียดการใช้งานที่ต่างกัน


แต่หลักการเขียนจะเหมือนกันก็คือ เมื่อมีแท็กเปิด <html> ก็จะต้องมีแท็กปิด </html> เพื่อครอบส่วนที่เราต้องการให้มีผลตามที่เราต้องการ


แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นแท็กเดี่ยวที่ไม่ต้องตามด้วยแท็กปิด เช่น <br/> , <hr/> , <input type="text" /> นี่คือแท็กตัวอย่างที่ไม่จำเป็นต้องมีแท็กปิด แต่จะมีการเพิ่มตัว / ไว้ก่อนวงเล็บเสมอ


โครงสร้างบังคับที่ต้องมีในการสร้างหน้าเว็บหนึ่งหน้าก็คือ <html></html> จะครอบทุกแท็กที่เราจะเขียนในส่วนต่อไปทั้งหมด

แท็ก <head></head> จะช่วยกำหนด Title ของหน้าเว็บที่แสดงด้านบนสุดของเว็บบราวเซอร์ และยังกำหนดภาษา อธิบายรายละเอียดของเว็บ เพื่อช่วยให้ค้นหาได้ดียิ่งขึ้น และยังนิยมแทรกโค๊ดปรับแต่งเว็บไซต์ให้สวยงามด้วย CSS ไว้ในส่วนนี้ด้วย

แท็ก <body></body> จะใช้แสดงผลข้อมูลบนหน้าเว็บ เช่นข้อความ 3 บรรทัดที่แสดงในตัวอย่างผลลัพธ์ที่แสดงด้านบน



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP กับการคิดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็น 5%, 10%, 20% ตามช่วงราคาที่กำหนด

<?php     $total_price = 1000;     $discount = 0;         if($total_price >= 500 && $total_price < 1001){         $discount = 5;     }elseif($total_price >= 1001 && $total_price <= 5000){         $discount = 10;     }elseif($total_price >= 5001){         $discount = 20;     }         $discount_bath = ($total_price*$discount)/100; ?> <pre> ซื้อสินค้าครบ 0 ถึง 499 บาท ไม่ได้ส่วนลด ซื้อสินค้าครบ 500 ถึง 1000 บาท ได้ส่วนลด 5% ซื้อสินค้าครบ 1001 ถึง 5000บาท ได้ส่วนลด 10% ซื้อสินค้าครบ 5001 บาทขึ้นไป ได้ส่วนลด 20% </pre> <h3>รวมราคาสินค้า = <?php echo number_format($total_price,2);?></h3> <h5>ส่วนลด = <?php echo $discount;?>%  (<?php echo $discount_bath;?> บาท)</h5> <h2>ราคาหลังส่วนลด = <?php echo number_format($total_price - $discount_bath,2);?>บาท</h2> "PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต