ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวคิดการออกแบบปฏิทินกิจกรรมด้วย PHP แบบ Google Calendar

       สำหรับการสร้างเว็บไซต์นั้น สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือปฏิทินกิจกรรม บางเว็บอาจจะออกแบบเป็นแบบแผนงานหรือลิสต์รายการทั่วไป แต่สำหรับการสร้างเว็บเพจแบบไดนามิกด้วย PHP เราสามารถเขียนโปรแกรมสร้างปฏิทินเพื่อแสดงผลกิจกรรมตามวันที่ต่างๆให้ดูง่ายสบายตา

       ในการเขียนโปรแกรมภาษา PHP ส่วนใหญ่เราจะใช้เขียนโปรแกรมเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล MySQL เพื่อเรียกข้อมูลที่เก็บไว้ด้วยซอร์สโค๊ด PHP ที่เรากำหนดค่าการทำงานต่างๆไว้ ในส่วนของการแสดงผลเราจะใช้ javascript ช่วยเพื่อแบ่งเบาภาระเซิร์ฟเวอร์ให้ไม่ต้องคำนวณเองทั้งหมด      



       ในบทความนี้จะเป็นการนำเสนอแนวคิดการออกแบบปฏิทินแบบแสดงผลกิจกรรมแบบหลายวัน และแบบข้ามสัปดาห์ ว่าจะแสดงผลอย่างไร

       ในตัวอย่างกิจกรรมเริ่มตั้งแต่วันที่ 2014-01-09 ถึงวันที่ 2014-01-13 รวมมั้งหมด 5 วันและจะต้องแสดงผลในสัปดาห์ที่สองและสามของปฏิทินด้วย สำหรับขั้นตอนที่จะต้องทำมีดังนี้

       1) หาจำนวนวันระหว่างวันที่ เริ่มกิจกรรม และวันที่สิ้นสุด
       2) นำจำนวนวันที่ได้ ไปคูณด้วยความกว้างของช่องปฏิทิน ในที่นี้คือ 5 x 100 จะได้ความยาวของกิจกรรมคือ 500px
       3) สร้างแท็ก DIV เป็นเลเยอร์ที่แสดงกิจกรรมโดยกำหนดให้ position : absolute เพื่อให้ลอยอยู่เหนือตาราง
       4) เมื่อแสดงผลกิจกรรมจะเลยออกไปนอกตาราง เพราะว่าวันที่ 12 และ 13 อยู่คนละสัปดาห์ ดังนั้นก็จะต้องคำนวณความกว้างใหม่โดย นำตำแหน่งของวันที่ปัจจุบัน + จำนวนกิจกรรมทั้งหมด แล้วลบตำแหน่งของวันสุดท้ายในสัปดาห์ก่อน จากนั้นจึงนำไปคูณกับความกว้างของช่องปฏิทิน
           จะได้ (4+5) - 6 = 3  ความกว้างจะเท่ากับ  3 x 100 = 300px จะยาวได้พอดี

       5) ปัญหาต่อมาคือ แล้วกิจกรรมมันลากยาวไปวันอื่นด้วย จะตรวจสอบยังไงถ้ามี 5 วันตรวจสอบและแสดงผลทุกวัน ก็จะได้ลากยาวไป 5 เส้น ดังนั้นถ้าเราจะตรวจสอบเฉพาะเมื่อขึ้นสัปดาห์ใหม่เท่านั้น ว่ามีการแสดงผลหรือยัง เช่นกรณีนี้รหัสกิจกรรมจะเป็นคีย์หลักที่ใช้ตรวจสอบ ดังนั้นวันที่ 10 และ 11 จะไม่แสดงผลเพราะมีการแสดงไปแล้วในวันที่ 9 ลากยาวจนถึง 11 
       แต่เมื่อขึ้นสัปดาห์ใหม่ จะต้องเริ่มแสดงใหม่ดังนั้นก็ต้องมาเช็กอีกว่า รหัสกิจกรรมนี้เหลืออีกกี่วัน จะเห็นว่าในระหว่างวนลูปจะต้องเสียเวลาเช็กหลายรอบ ดังนั้นเราอาจจะใช้วิธีคำนวณไว้ก่อนแล้วเก็บเป็นแต่ละสัปดาห์ต้องแสดงในช่องไหนบ้าง
       เช่น  $data[21][12] = '200px';  กำหนดให้สัปดาห์ที่ 21 วันที่ 12 แสดงกิจกรรม 2 ช่อง (ในความเป็นจริงเราต้องเก็บอาร์เรย์หลายมิติเพื่อแสดงชื่อกิจกรรม และรหัสกิจกรรมเพื่อลิงค์ไปดูรายละเอียดอีกด้วย)


สำหรับหลักการโดยคร่าวๆจะมีดังนี้ สำหรับบทความต่อไปจะเป็นการลงมือเขียนโค๊ดจริง แล้วเราจะได้เห็นว่า จะมีบั๊กกระจายได้ขนาดไหน (^___^)  ก็ต้องค่อยๆตามเก็บกันไปจนกว่าปฏิทินจะใช้งานได้ตรงกับความต้องการมากที่สุดครับ


PHP CI MANIA PHP Code Generator 
โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด ลดเวลาการเขียนโปรแกรม

สนใจสั่งซื้อเพียง 4,500 บาท
http://fastcoding.phpcodemania.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP กับการคิดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็น 5%, 10%, 20% ตามช่วงราคาที่กำหนด

<?php     $total_price = 1000;     $discount = 0;         if($total_price >= 500 && $total_price < 1001){         $discount = 5;     }elseif($total_price >= 1001 && $total_price <= 5000){         $discount = 10;     }elseif($total_price >= 5001){         $discount = 20;     }         $discount_bath = ($total_price*$discount)/100; ?> <pre> ซื้อสินค้าครบ 0 ถึง 499 บาท ไม่ได้ส่วนลด ซื้อสินค้าครบ 500 ถึง 1000 บาท ได้ส่วนลด 5% ซื้อสินค้าครบ 1001 ถึง 5000บาท ได้ส่วนลด 10% ซื้อสินค้าครบ 5001 บาทขึ้นไป ได้ส่วนลด 20% </pre> <h3>รวมราคาสินค้า = <?php echo number_format($total_price,2);?></h3> <h5>ส่วนลด = <?php echo $discount;?>%  (<?php echo $discount_bath;?> บาท)</h5> <h2>ราคาหลังส่วนลด = <?php echo number_format($total_price - $discount_bath,2);?>บาท</h2> "PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต