ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

PHP Calendar : เขียน PHP เพื่อสร้างปฏิทินเพื่อแสดงสถานะการจองในแต่ละวัน

       จากบทความเดิมที่เป็นตัวอย่างการสร้างปฏิทิน PHP ในมุมมองแบบรายเดือน และปฏิทิน PHP ในมุมมองแบบรายสัปดาห์  จะเป็นแค่เพียงตัวอย่างการเขียนโปรแกรม PHP เพื่อสร้างปฏิทินเปล่าๆ และแบบแสดงข้อมูลกิจกรรมเท่านั้น ในบทความนี้จะมานำเสนอการตรวจสอบเงื่อนไขการจอง เพื่อแสดงเป็นสีพื้นหลังให้ทราบสถานะการจองในแต่ละวันกันครับ

กำหนดให้ในแต่ละวัน ลูกค้าสามารถจองคิวได้เพียง 3 รายเท่านั้น
$bookPerDay = 3;


หากวันใดที่ไม่มีรายการจองให้แสดงพื้นหลังเป็นสีเขียว
หากจองแล้วแสดงพื้นหลังเป็นสีเหลือง
หากจองคิวครบแล้วให้แสดงเป็นสีแดง
<style type="text/css">
    .book_status1{ background-color : green;}
    .book_status2{ background-color : yellow;}
    .book_status3{ background-color : red;}
</style>




ก่อนจะสร้างปฏิทินให้เรียกรายการจองของเดือนนั้นๆ มาเก็บไว้ในตัวแปรอาร์เรย์ก่อน เพื่อนำไปตรวจสอบในการวนลูปสร้างปฏิทิน
    $month = isset($_POST['month']) ? $_POST['month'] : date('m');    
    $year = isset($_POST['year']) ? $_POST['year'] : date('Y');

    $bookArr = array();
    $yearMonth = "$year-$month";
    $sql = "SELECT DAY( `bk_date` ) AS book_day, COUNT( * ) AS qty
            FROM `tb_report_booking`
            WHERE DATE_FORMAT( `bk_date` , '%Y-%m' ) = '$yearMonth'
            GROUP BY DAY( bk_date )";
    $qry = mysql_query($sql) or die(mysql_error());
    while($row = mysql_fetch_assoc($qry)){
        $bookArr[$row['book_day']] = $row['qty'];
    }

ตัวอย่างข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแปรอาร์เรย์ $bookArr
จะได้จำนวนการจองในแต่ละวันของเดือนนั้นๆ เช่น
$bookArr[1] = 1
$bookArr[5] = 3
ซึ่งฟิลด์ bk_date ที่เก็บวันที่จองนั้นจะต้องกำหนด Type เป็นแบบ date ข้อมูลที่บันทึกจะอยู่ในรูปแบบ yyyy-mm-dd จึงจะสามารถใช้กับฟังก์ชั่น DAY() และ DATE_FORMAT() ของ MySQL ได้


     

หลังจากที่ได้ตัวแปรอาร์เรย์ $bookArr ที่เก็บจำนวนการจองในแต่ละวันของเดือนที่ต้องการไว้แล้ว ต่อไปก็เป็นในส่วนของการวนลูปสร้างตารางปฏิทิน PHP

    for($i=1; $i <= $lastDay; $i++){ //วนลูป ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันสุดท้ายของเดือน
         /*
       .....
       ..... โค๊ดในส่วนอื่นๆ
       .....
       */
       
        //ระบายสี
        $numBook = isset($bookArr[$i]) ? $bookArr[$i] : 0;
        $tdStyle = "";
        if($numBook >= 3){
            $tdStyle = "book_status3";
        }elseif($numBook > 0){
            $tdStyle = "book_status2";
        }else{
            $tdStyle = "book_status1";
        }
       
        echo "<td class='$tdStyle'> $i </td>";  //สร้างคอลัมน์ แสดงวันที่

        /*
       .....
       ..... โค๊ดในส่วนอื่นๆ
       .....
       */


    }



เพียงเท่านี้ก็จะได้สีพื้นหลังที่แสดงสถานะที่ต่างกันของแต่ละวันได้แล้วครับ


ปล. ตัวอย่างโครงสร้างตารางการจองที่ใช้กับบทความนี้
ในส่วนของตารางการจองนี้จะเป็นแบบบันทึกเป็นรายการต่อคนไปนะครับ การที่เราจะนับว่าวันไหนมีคนจองเท่าไหร่ก็ใช้การนับที่จัดกลุ่มตามวันได้เลยครับ


ผลลัพธ์ที่ได้


บทความที่เกี่ยวข้อง




"PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม
แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต่างหาก"

PHP CI MANIA PHP Code Generator 
โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด ลดเวลาการเขียนโปรแกรม

สนใจสั่งซื้อเพียง 3,990 บาท



PHP CI MANIA PHP Code Generator 

โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด "ลดเวลาการเขียนโปรแกรม"
ราคาสุดคุ้มเพียง 3,990 บาท 
http://www.phpcodemania.com

ความคิดเห็น

  1. รับเขียนงานจองคิวตามแบบมั้ยครับ
    ถ้ารับ ติดต่อ โจ 0816135593

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP กับการคิดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็น 5%, 10%, 20% ตามช่วงราคาที่กำหนด

<?php     $total_price = 1000;     $discount = 0;         if($total_price >= 500 && $total_price < 1001){         $discount = 5;     }elseif($total_price >= 1001 && $total_price <= 5000){         $discount = 10;     }elseif($total_price >= 5001){         $discount = 20;     }         $discount_bath = ($total_price*$discount)/100; ?> <pre> ซื้อสินค้าครบ 0 ถึง 499 บาท ไม่ได้ส่วนลด ซื้อสินค้าครบ 500 ถึง 1000 บาท ได้ส่วนลด 5% ซื้อสินค้าครบ 1001 ถึง 5000บาท ได้ส่วนลด 10% ซื้อสินค้าครบ 5001 บาทขึ้นไป ได้ส่วนลด 20% </pre> <h3>รวมราคาสินค้า = <?php echo number_format($total_price,2);?></h3> <h5>ส่วนลด = <?php echo $discount;?>%  (<?php echo $discount_bath;?> บาท)</h5> <h2>ราคาหลังส่วนลด = <?php echo number_format($total_price - $discount_bath,2);?>บาท</h2> "PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต