ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บันทึกช่วยจำ : SQL สำหรับการค้นหา ชื่อ-นามสกุล ที่มีคำนำหน้าต่างกัน




เนื่องจากระบบที่ใช้อยู่ ในแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลนั้น ยังไม่มีในส่วนของคำนำหน้าชื่อ เวลาเพิ่มข้อมูลเข้าระบบ จึงเกิดปัญหากับคำนำหน้าบางคำ เช่น นางสาว ที่บางครั้งก็เป็นตัวย่อ น.ส. ชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดต่างๆ บางครั้งก็เป็น หจก. จึงทำให้การเช็คข้อมูลซ้ำเป็นไปได้ยาก


แล้วสุดท้ายจึงตัดสินใจ แก้ที่โค๊ด SQL ก่อนเลยละกัน จากนั้นค่อยแก้หน้าแบบฟอร์มของโปรแกรมทีหลัง เพราะข้อมูลเดิมมีอยู่เป็นจำนวนมาก



         $searchText =  str_replace(" ", "", str_replace(".", "", str_replace("น.ส.", "นางสาว", $searchText)));
        $sql .= " AND ( ";
        $sql .= "  REPLACE(REPLACE(REPLACE(company.name_thai, 'น.ส.', 'นางสาว'), '.', ''), ' ', '')  LIKE '%" .$searchText . "%'  OR my_order.id like '%" .$searchText . "%' ";
        $sql .= " )";




จากโค๊ด PHP ด้านบนนี้จะเป็นการตัดปัญหาเรื่องใส่จุดบ้าง ไม่ใส่บ้าง หรือเว้นวรรคบ้างไม่เว้นบ้าง ทำให้โปรแกรมค้นหาข้อมูลซ้ำไม่เจอ


เช่น ต้องการเพิ่มข้อมูล บริษัท เอช.ที. มีเดีย จำกัด
พอเริ่มคีย์ข้อมูล โปรแกรมก็จะทำการค้นหา แต่ไม่พบชื่อที่ตรงกันในฐานข้อมูล ทั้งที่บริษัทนี้มีอยู่แล้ว แต่เพิ่มไว้ในชื่อ บริษัท เอช ที มีเดีย จำกัด




บริษัท เอช.ที. มีเดีย จำกัด != บริษัท เอช ที มีเดีย จำกัด

ดังนั้น  การตัดจุด และช่องว่างออกไปนั้นจะทำให้โปรแกรมเราค้นหาชื่อที่ซ้ำกันเจอ

บริษัทเอชทีมีเดียจำกัด = บริษัทเอชทีมีเดียจำกัด


 ถัดจากช่องว่าง และจุด ก็คือคำนำหน้าที่มีปัญหาอยู่หลายคำ แต่ในตัวอย่างนี้คือ น.ส. เมื่อเราเพิ่มชื่อใหม่เข้าไปเป็น นางสาว สายชล  ยลโฉมงาม โปรแกรมก็จะเริ่มค้นหาในระหว่างที่คีย์ข้อมูล ทั้งที่ในฐานข้อมูลมีชื่อ น.ส.สายชล  ยลโฉมงาม  อยู่แล้ว แต่ก็ไม่สามารถตรวจพบได้


 นางสาว สายชล  ยลโฉมงาม != น.ส.สายชล  ยลโฉมงาม 

ดังนั้น การตัดจุด  และช่องว่าง และแทนที่ น.ส. เป็น นางสาว จะได้คีย์เวิร์ด และคำที่ต้องการค้นหาใหม่เป็น
 นางสาว สายชล  ยลโฉมงาม = นางสาวสายชลยลโฉมงาม
 น.ส.สายชล  ยลโฉมงาม = นางสาวสายชลยลโฉมงาม

โปรแกรมก็จะสามารถค้นหาข้อมูลที่ตรงกันและแจ้งเตือนให้เราทราบได้ว่าชื่อซ้ำกัน


แต่ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือการเขียนโค๊ด เราจะให้เริ่มแทนที่คำนำหน้าก่อน แล้วจึงแทนที่ ช่องว่าง และจุด เพราะกรณีที่แทนที่จุดก่อน จะทำให้ น.ส. กลายเป็น นส เท่านั้น คำสั่งแทนที่ น.ส. เป็น นางสาว นั้นจะไม่สามารถทำงานได้





หลังจากนี้อะไรคือสิ่งที่ควรทำต่อไป??

ขั้นตอนแรก คงต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มคำนำหน้าชื่อลงไปในฐานข้อมูล เพื่อให้เลือกเอาจากระบบ แทนการพิมพ์เองเพื่อลดความผิดพลาด

ขั้นตอนต่อมา เมื่อแน่ใจแล้วว่า ข้อมูลที่บันทึกเข้าไปในฐานข้อมูลถูกต้องและตรงกันเสมอ ก็ให้กลับไปอัพเดตฟิลด์ชื่อนามสกุล ที่มีคำย่อ และคำเต็มปะปนกันไปนั้น ให้ตรงกัน หากจะใช้คำย่อ ก็ใช้คำย่อทั้งหมด หากต้องการใช้คำเต็มก็ใช้เต็มทั้งหมด

สุดท้าย ก็ต้องกลับมาแก้ซอร์สโค๊ดของโปรแกรมเราให้เหลือแค่การแทนที่จุด และช่องว่างเท่านั้น เพื่อลดการทำงานของการค้นหาลง
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP กับการคิดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็น 5%, 10%, 20% ตามช่วงราคาที่กำหนด

<?php     $total_price = 1000;     $discount = 0;         if($total_price >= 500 && $total_price < 1001){         $discount = 5;     }elseif($total_price >= 1001 && $total_price <= 5000){         $discount = 10;     }elseif($total_price >= 5001){         $discount = 20;     }         $discount_bath = ($total_price*$discount)/100; ?> <pre> ซื้อสินค้าครบ 0 ถึง 499 บาท ไม่ได้ส่วนลด ซื้อสินค้าครบ 500 ถึง 1000 บาท ได้ส่วนลด 5% ซื้อสินค้าครบ 1001 ถึง 5000บาท ได้ส่วนลด 10% ซื้อสินค้าครบ 5001 บาทขึ้นไป ได้ส่วนลด 20% </pre> <h3>รวมราคาสินค้า = <?php echo number_format($total_price,2);?></h3> <h5>ส่วนลด = <?php echo $discount;?>%  (<?php echo $discount_bath;?> บาท)</h5> <h2>ราคาหลังส่วนลด = <?php echo number_format($total_price - $discount_bath,2);?>บาท</h2> "PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต