ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จัดระเบียบซอร์สโค๊ด PHP ลดการ query ฐานข้อมูล MySQL ให้น้อยลง




การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา php เป็นภาษาที่ยืดหยุ่น และผมถนัดที่สุด เพราะเราสามารถออกแบบการทำงานได้ง่ายกว่าภาษาอื่น ที่ผมเขียนเป็น เรื่องตัวแปรก็ยืดหยุ่น เรียกใช้ง่าย

บทความนี้จะนำเสนอเทคนิคการเขียนโปรแกรม ที่ช่วยลดจำนวนครั้งในการคิวรี่ฐานข้อมูลน้อยลง เพื่อเป็นการลดภาระของฐานข้อมูล MySQL ให้ใช้ CPU น้อยลง

แต่ก็ต้องแรก กับหน่วยความจำของโปรแกรมสักหน่อย เช่นถ้าใช้กับตารางที่เก็บข้อมูลหลักหมื่นเรคอร์ด ก็อาจจะเกิดอาการตัวแปรมีขนาดใหญ่เกินไป ซึ่งจะต้องใช้ memory_limit เพิ่มขึ้นไปอีก

กรณีที่ต้องแสดงข้อมูลหลายเรคอร์ดเรามักจะเจอ fatal error “Allowed memory size exhausted” ข้อความนี้อยู่เป็นประจำ จึงเป็นเหตุผลให้เราต้องแบ่งหน้าการแสดงผล เพื่อให้แสดงผลเร็วขึ้น และไม่ใช้หน่วยความจำเกินขีดจำกัด


ขั้นการเขียนโปรแกรมที่จะช่วยลดจำนวนการคิวรี่ MySQL คือ

1. ตัดส่วนที่ต้องคิวรี่เพื่อดึงข้อมูลในลูปออกมาไว้นอกลูป
     วิธีนี้จะสามารถใช้ได้กับ ตารางข้อมูลที่ข้อมูลตายตัว หรือมีการเพิ่มข้อมูลไม่บ่อย และจะไม่เกินหลักพัน ประมาณนี้

2. สร้างอาร์เรย์เก็บข้อมูลของตารางที่ต้องคิวรี่ในลูปนี้ เอาไว้เรียกใช้ในลูปแทนการคิวรี่จากฐานข้อมูล



เพียงแค่นี้ก็ช่วยให้โปรแกรมทำงานได้เร็วขึ้นแล้วครับ สำหรับตารางไหนที่สามารถใช้วิธีนี้ได้บ้างนั้นต้องอยู่ในดุลพินิจของใครของมันนะครับ ส่วนที่ผมใช้งานบ่อยๆ ก็เช่น ฐานข้อมูล ตารางรายชื่อพนักงาน ตารางรายชื่อแผนก ตารางรายชื่อฝ่าย ตารางรายชื่อวัสดุ ซึ่งรวมๆ แล้วคือตารางที่เป็นตารางหลักครับ


การเขียนโค๊ด PHP แบบเดิม (เรียกข้อมูลในลูป)



<?php
$no = 0;
$sql = "SELECT * FROM booking WHERE month = '04' ";
$result = mysql_query($sql);//คิวรี่ครั้งที่ 1
while( $rs = mysql_fetch_assoc($result) ){

 $dpId = $rs["book_department_id"];
       //คิวรี่ครั้งที่ 2
 $qry = mysql_query("SELECT department_name FROM tb_department WHERE department_id = '".$dpId."' ");
 $rsDp = mysql_fetch_assoc($qry);
 $departMentName = $rsDp["department_name"];

 echo "<br/>", $departMentName;
}
?>

คิวรี่ครั้งที่ 1  :: คือการเรียกข้อมูลการจองของเดือนเมษายน
คิวรี่ครั้งที่ 2 :: คือการการเรียกชื่อแผนกที่พนักงานคนที่รับจองสังกัดอยู่  ซึ่งถ้าเดือนเมษายนมีการจอง 50 รายการ ก็จะเรียกคำสั่งคิวรี่ทั้งหมด 50 ครั้งเช่นกัน

การเขียนโค๊ด PHP แบบใหม่ (แยกส่วนที่เรียกข้อมูลในลูป ออกมาไว้นอกลูป)
<?php
//รายชื่อแผนกทั้งหมด
$allDepart = array();
$qry = mysql_query("SELECT department_id, department_name FROM tb_department");
while($rsDp = mysql_fetch_assoc($qry)){
 $allDepart[$rsDp['department_id ']] = $rsDp['department_name']
}

$no = 0;
$sql = "SELECT * FROM booking WHERE month = '04' ";
$result = mysql_query($sql);
while( $rs = mysql_fetch_assoc($result) ){

 $dpId = $rs["book_department_id"];
 $departMentName = $allDepart[$dpId];
 
 echo "
", $departMentName;
}
?>


คิวรี่ครั้งที่ 1 :: คือการเรียกข้อมูลรายชื่อแผนกทั้งหมด
คิวรี่ครั้งที่ 2 :: คือการเรียกข้อมูลการจองของเดือนเมษายน ถึงแม้เดือนนี้จะมี 50 รายการ แต่การคิวรี่จะเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งเท่านั้นเพราะรายชื่อแผนกทั้งหมดเก็บไว้ในอาร์เรย์ $allDepart แล้ว ซึ่งเรียกใช้ด้วยไอดีทันที



จากตัวอย่างการเขียนโค๊ดสองกรณีนี้ คงพอจะเห็นถึงความแตกต่างแล้วนะครับ กรณีเรียกข้อมูลทั้งหมดมาเก็บในตัวแปล $allDepart ถามว่าจะทำงานช้าไปรึเปล่า บอกได้เลยว่าไม่ช้าครับ

ผมเคยทดสอบกับข้อมูลตารางที่มีฟิลด์มากกว่า 50 ฟิลด์ เก็บข้อมูลมากกว่า 50,000 เรคอร์ด
และเรียกโดยการ SELECT * FROM table มาเก็บในตัวแปรอาร์เรย์ใช้เวลาเพียงไม่กี่วิครับ
แต่ทดสอบกับเซิร์ฟเวอร์ภายในนะครับ ไม่ได้ทดสอบผ่านอินเตอร์เน็ต แต่ถึงอย่างไรก็เร็วกว่ากรณีแรกอยู่ดีครับ


ปัญหาที่พบคือการใช้กับตารางที่มีข้อมูลเยอะเกินไป จะทำให้เกิดการใช้หน่วยความจำเกินที่กำหนดไว้ครับ ซึ่งผมก็ไม่แนะนำให้ทำ ก็ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะครับ แล้วท่านจะเห็นว่าความเร็วต่างกันอย่างไร


PHP CI MANIA PHP Code Generator 
โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด ลดเวลาการเขียนโปรแกรม

สนใจสั่งซื้อเพียง 4,500 บาท
http://fastcoding.phpcodemania.com/



สนับสนุนค่ากาแฟผู้เขียนได้ที่

PayPal

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

การดึงข้อมูล MySQL มาแสดงในปฏิทิน Fullcalendar ด้วย PHP

หลักการทำงาน เรียกข้อมูลจากตาราง tb_event ด้วยฟังก์ชั่นของ MySQLi ข้อมูลจากฐานข้อมูลจะถูกวนลูปเก็บไว้ใน $data และจะถูกส่งไปที่ Fullcalendar ด้วยการแปลงข้อมูลจาก PHP ให้อยู่ในรูปแบบ JSON อาร์เรย์ด้วยฟังก์ชั่น json_encode() PHP Code <?php //Database $data = array(); $link = mysqli_connect("127.0.0.1", "tobedev", "1234", "tobedev_example"); mysqli_set_charset($link, 'utf8'); if (!$link) {     echo "Error: Unable to connect to MySQL." . PHP_EOL;     echo "Debugging errno: " . mysqli_connect_errno() . PHP_EOL;     echo "Debugging error: " . mysqli_connect_error() . PHP_EOL;     exit; } $query = "SELECT * FROM tb_event"; if ($result = $link->query($query)) {     /* fetch object array */     while ($obj = $result->fetch_object()) {        $data[] = array(                     'id' => $obj->id,                     'title'=> $obj->titl