ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้งานฟังก์ชั่น foreach(), array_walk() และ array_map() กับการทำงานกับอาร์เรย์

สำหรับบทความนี้จะมาสอนเขียน PHP เพื่อวนลูปทำงานตามที่ต้องการด้วยฟังก์ชั่น foreach(), ฟังก์ชั่น array_walk() และฟังก์ชั่น array_map() ซึ่งตัวอย่างนี้จะทำงานร่วมกับข้อมูลที่เป็นอาร์เรย์

ข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ php.net
foreach()
array_walk()
array_map()

ลองมาดูผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียกใช้งานฟังก์ชั่นดูกันก่อนจะลองทำแล็ปเล็กๆท้ายบทความนะครับ

<?php

$data = array('name' => 'Songchai Saetern', 'age' => '29', 'level' => '1');

echo '<b>ข้อมูลในตัวแปร $data</b><pre>', print_r($data, true), '</pre>';

echo "<pre><b>ตัวอย่างการใช้ forech()</b>";
foreach($data as $key => $value) {
    echo "<br/>$key : <input type=\"\" name=\"$key\" value=\"$value\" />";
}
echo '</pre>';

echo "<pre><b>ตัวอย่างการใช้ array_walk()</b>";
array_walk($data, function($value, $key){
    echo "<br/>$key : <input type=\"\" name=\"$key\" value=\"$value\" />";
});
echo '</pre>';

echo "<pre><b>ตัวอย่างการใช้ array_map()</b>";
function cube($value, $key)
{
    echo "<br/>$key : <input type=\"\" name=\"$key\" value=\"$value\" />";
}
$b = array_map("cube", $data, array_keys($data));

?>

สังเกตว่าวิธีการเขียนโค๊ดยุ่งยากซับซ้อนแตกต่างกัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นจะเหมือนกัน





กรณีที่ต้องเขียนแยกไปใช้หลายๆที่อาจจะใช้วิธีเรียกฟังก์ชั่นสำหรับเรียกใช้งานได้หลายหน้าเว็บเพจ

ตัวอย่างการสร้างฟังก์ชั่น เพื่อเรียกใช้ foreach()

function generate_tr($row_array){
    $list = '<tr>';
    foreach($row_array as $field => $value) {
        $list .= "<td class=\"$field\">$value</td>";
    }
    $list .= '</tr>';
    return $list;
}

$tr = '';
$sql = "SELECT * FROM `tb_member` LIMIT 5";
$qry = mysql_query($sql) or die( mysql_error() );
while($row = mysql_fetch_assoc($qry)){
    $tr .= generate_tr($row);
}
echo '<h3>ตัวอย่างการสร้างฟังก์ชั่น เพื่อเรียกใช้ foreach()</h3>';
echo '<table border="1">', $tr, '</table>';


ตัวอย่างการสร้างฟังก์ชั่น เพื่อเรียกใช้ array_walk()

function array_walk_td(&$value, $field){
    $value = "<td class=\"$field\">$value</td>";
}

$tr = '';
$data = array();
$sql = "SELECT * FROM `tb_member` LIMIT 5";
$qry = mysql_query($sql) or die( mysql_error() );
while($row = mysql_fetch_assoc($qry)){
    array_walk($row, "array_walk_td");
    $tr .= '<tr>'.implode('', array_values($row)).'</tr>';
}
echo '<h3>ตัวอย่างการสร้างฟังก์ชั่น เพื่อเรียกใช้ array_walk()</h3>';
echo '<table border="1">', $tr, '</table>';

 

ตัวอย่างการสร้างฟังก์ชั่น เพื่อเรียกใช้ array_map()

function array_map_td($value, $field){
    return "<td class=\"$field\">$value</td>";
}

$tr = '';
$sql = "SELECT * FROM `tb_member` LIMIT 5";
$qry = mysql_query($sql) or die( mysql_error() );
while($row = mysql_fetch_assoc($qry)){
    $data = array_map("array_map_td", $row, array_keys($row));
    $tr .= '<tr>'.implode('', array_values($data)).'</tr>';
}
echo '<h3>ตัวอย่างการสร้างฟังก์ชั่น เพื่อเรียกใช้ array_map()</h3>';
echo '<table border="1">', $tr, '</table>';





สังเกตว่าจะได้ผลลัพธ์จะได้เหมือนกัน แต่การใช้งาน array_walk() และ array_map() ในกรณีเช่นนี้ดูแล้วไม่ค่อยจะเหมาะสมเท่าไหร่นัก เพราะต้องเรียกใช้งานฟังก์ชั่นเพื่อรับส่งค่าเพิ่มเติม


แล้วจะใช้ array_walk() และ array_map() ตอนไหนดี?

  • array_walk() ถ้าต้องการวนลูปแสดงค่าในอาร์เรย์เลยโดยไม่ต้องคืนค่ากลับ(return) แบบนี้น่าใช้
  • array_map() เหมาะกับการวนลูปเพื่อแก้ไขข้อมูลในอาร์เรย์เพื่อนำไปใช้ต่อ โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับ key ของอาร์เรย์ เพราะถ้าต้องการค่าอื่นๆด้วยก็จะต้องส่งเป็นอาร์เรย์ชุดที่สองต่อไป
  • นอกเหนือจากนั้นก็ใช้ foreach() ตามปกติ จะสามารถทำงานได้อย่างอิสระ 


ตัวอย่างการใช้ array_map() แบบให้ผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน
กับการกรองข้อมูลจากแบบฟอร์มเพื่อป้องกัน SQL Injection 

กำหนดให้มีการรับข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านจากแบบฟอร์มมีค่าดังนี้

$_POST['uname'] = "songchai";
$_POST['password'] = "abcd' OR '1'='1";

ผลลัพธ์การสร้างคิวรี่สตริงที่ไม่ได้กรองข้อมูลก่อน
echo '<b>ข้อมูลที่ส่งมาจากแบบฟอร์ม</b><pre>', print_r($_POST, true), '</pre>';
echo "SELECT * FROM `tb_member` WHERE username = '$_POST[uname]' AND password = '$_POST[password]'";
ข้อมูลที่ส่งมาจากแบบฟอร์ม
Array
(
    [uname] => songchai
    [password] => abcd' OR '1'='1
)
SELECT * FROM `tb_member` WHERE username = 'songchai' AND password = 'abcd' OR '1'='1'

ตัวอย่างการเรียกใช้ foreach() เพื่อกรองข้อมูล SQL Injection

echo '<h3>ตัวอย่างการสร้างฟังก์ชั่น เพื่อเรียกใช้ foreach()</h3>';
foreach ($_POST as $key => $value) {
    $_POST[$key] = mysql_real_escape_string($value);
}
echo '<b>ข้อมูลที่กรองแล้ว</b><pre>', print_r($_POST, true), '</pre>';
echo "SELECT * FROM `tb_member` WHERE username = '$_POST[uname]' AND password = '$_POST[password]'";

ข้อมูลที่กรองแล้ว
Array
(
    [uname] => songchai
    [password] => abcd\' OR \'1\'=\'1
)
SELECT * FROM `tb_member` WHERE username = 'songchai' AND password = 'abcd\' OR \'1\'=\'1'

 

ตัวอย่างการเรียกใช้ array_map() เพื่อกรองข้อมูล SQL Injection

$_POST = array_map ('mysql_real_escape_string', $_POST);
echo '<b>ข้อมูลที่กรองแล้ว</b><pre>', print_r($_POST, true), '</pre>';
echo "SELECT * FROM `tb_member` WHERE username = '$_POST[uname]' AND password = '$_POST[password]'";

ข้อมูลที่กรองแล้ว 
Array
(
    [uname] => songchai
    [password] => abcd\' OR \'1\'=\'1
)
SELECT * FROM `tb_member` WHERE username = 'songchai' AND password = 'abcd\' OR \'1\'=\'1



สุดท้ายนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่านว่าจะเลือกใช้ฟังก์ชั่นใด กับการทำงานร่วมกับข้อมูลอาร์เรย์ชุดนั้นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

การดึงข้อมูล MySQL มาแสดงในปฏิทิน Fullcalendar ด้วย PHP

หลักการทำงาน เรียกข้อมูลจากตาราง tb_event ด้วยฟังก์ชั่นของ MySQLi ข้อมูลจากฐานข้อมูลจะถูกวนลูปเก็บไว้ใน $data และจะถูกส่งไปที่ Fullcalendar ด้วยการแปลงข้อมูลจาก PHP ให้อยู่ในรูปแบบ JSON อาร์เรย์ด้วยฟังก์ชั่น json_encode() PHP Code <?php //Database $data = array(); $link = mysqli_connect("127.0.0.1", "tobedev", "1234", "tobedev_example"); mysqli_set_charset($link, 'utf8'); if (!$link) {     echo "Error: Unable to connect to MySQL." . PHP_EOL;     echo "Debugging errno: " . mysqli_connect_errno() . PHP_EOL;     echo "Debugging error: " . mysqli_connect_error() . PHP_EOL;     exit; } $query = "SELECT * FROM tb_event"; if ($result = $link->query($query)) {     /* fetch object array */     while ($obj = $result->fetch_object()) {        $data[] = array(                 ...