ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

[สอนเขียน PHP] สร้าง PHP Builder ตอนที่ 1 : รวบรวมเครื่องมือที่ต้องใช้

เริ่มต้นสร้างระบบช่วยสร้างโค๊ดอัตโนมัติ


แนวคิดที่ทำให้เริ่มต้นสร้างระบบช่วยสร้างโค๊ดอัตโนมัตินี้ขึ้นมาก็คือ เรื่องของความซ้ำซ้อนในการทำงาน ที่วันๆ เอาแต่นั่งเขียนคำสั่งเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเริ่มจะเกิดอาการเบื่อหน่ายในงานที่ทำ


วันดีคืนดีก็ปิ๊ง! กับไอเดียระบบสร้างโค๊ดอัตโนมัติขึ้นมา เมื่อบ่อยครั้งที่ต้องเขียนฟังก์ชั่นเพื่อลดความซ้ำซ้อน จนมองเห็นภาพว่า นอกจากเขียนฟังก์ชั่นจะช่วยลดโค๊ดแล้ว ถ้าเราเก็บฟังก์ชั่น รวมถึงทุกอย่างที่เราต้องนั่งพิมพ์เอง ไปรวบรวมไว้ให้ระบบมันจัดการให้เองก็ดีสินะ

นี่ก็คือจุดเริ่มต้นของ PHP Builder

สำหรับเครื่องมือและไลบรารี่ต่างๆที่ผมใช้ก็มีดังนี้
1. โน๊ตบุ๊คเก่าๆเครื่องนึง + Ubuntu OS
2. โปรแกรมเขียนโค๊ด (IDE) eclipse PDT
3. LAMP Server (Linux, Apache, MySQL, PHP)
4. Firefox Web browser + firebug plugin
5. ฐานข้อมูล MySQL + phpMyAdmin สำหรับจัดการฐานข้อมูล
6. CodeIgniter, jQuery, Angular JS, Bootstrap, JavaScript, CSS, HTML
7. PHPExcel, TCPDF, FPDI

PHP Builder หน้าหลัก (สารบัญ)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

การดึงข้อมูล MySQL มาแสดงในปฏิทิน Fullcalendar ด้วย PHP

หลักการทำงาน เรียกข้อมูลจากตาราง tb_event ด้วยฟังก์ชั่นของ MySQLi ข้อมูลจากฐานข้อมูลจะถูกวนลูปเก็บไว้ใน $data และจะถูกส่งไปที่ Fullcalendar ด้วยการแปลงข้อมูลจาก PHP ให้อยู่ในรูปแบบ JSON อาร์เรย์ด้วยฟังก์ชั่น json_encode() PHP Code <?php //Database $data = array(); $link = mysqli_connect("127.0.0.1", "tobedev", "1234", "tobedev_example"); mysqli_set_charset($link, 'utf8'); if (!$link) {     echo "Error: Unable to connect to MySQL." . PHP_EOL;     echo "Debugging errno: " . mysqli_connect_errno() . PHP_EOL;     echo "Debugging error: " . mysqli_connect_error() . PHP_EOL;     exit; } $query = "SELECT * FROM tb_event"; if ($result = $link->query($query)) {     /* fetch object array */     while ($obj = $result->fetch_object()) {        $data[] = array(                 ...