ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ติดตั้ง xampp 5.5.24 เพื่อใช้เขียน PHP 5.5

STEP 1 : Download 

เราจะใช้แพกเกจจากเว็บไซต์

Apache FriendsXAMPP :  Apache + MySQL + PHP + Perl

โดยรุ่นที่จะใช้งานคือต้องมี PHP 5.5 ซึ่งรุ่นที่มียอดดาวน์โหลดมากที่สุดก็คือ xampp 5.5.24

และเพื่อความสะดวกสำหรับการใช้งานหลายเวอร์ชั่น ผมจึงดาวน์โหลดรุ่นที่เป็น Portable
xampp-portable-win32-5.5.24-0-VC11 (ซึ่งมียอดดาวน์โหลดมากที่สุดของรุ่นเดียวกัน)

STEP 2 : Setup

หลังจากดาวน์โหลดเรียบร้อยก็ให้ทำการแตกไฟล์ออกมา ก็จะได้โฟลเดอร์ xampp และเมื่อเปิดเข้าไปก็จะเจอไฟล์ดังรูปซึ่งที่จะมีขั้นตอนการติดตั้งดังนี้


    2.1 ดับเบิ้ลคลิกไฟล์ setup_xampp.bat เพิ่มเริ่มระบบโปรแกรมจะทำการตั้งค่าให้โฟลเดอร์ xampp ในปัจจุบันนี้สามารถใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ (สามารถย้าย xampp ไปไดร์ฟอื่นๆได้นะครับ)


    2.2 หลังจากดำเนินการเรียบร้อยให้ลอง Start ทั้ง Apache และ MySQL ว่าจะทำงานได้หรือไม่ ถ้ากรณีไม่เคยมีโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์มาก่อน ตัวเลข PID และ Port จะปรากฏขึ้น


    2.4 กรณีขึ้นสีแดง แล้วหายไป แสดงว่าไม่สามารถทำงานได้ เท่าที่เจอจะเกิดจากการรันโปรแกรมเว็บเซอร์เวอร์ไว้ก่อนแล้ว เช่นเคยติดตั้ง Appserv หรือ XAMPP เวอร์ชั่นอื่นๆไว้ด้วย ให้ทำการเปลี่ยน Port โดยคลิกที่ปุ่ม Config


STEP 3 : Config

    3.1 เริ่มจากการแก้ไข httpd.conf ซึ่งเมื่อคลิกที่ปุ่ม Config ให้เลือก Apache (httpd.conf)
    3.2 ค้นหาพอร์ต 80 ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้น และให้เปลี่ยนเป็นพอร์ตอื่นแทน เช่น 8080, 8081,8082 ซึ่งในภาพด้านบนนี้ส่วนแรกที่ต้องแก้ไขคือ Listen 80 เปลี่ยนเป็น Listen 8081

    3.3 จากนั้นให้ค้นหาต่อไป จะเจอค่า ServerName localhost:80 ให้เปลี่ยนเป็น
ServerName localhost:8081 ดังภาพด้านล่างนี้ ให้ทำการบันทึกและปิดไฟล์



    3.4 กรณีที่พอร์ตชนกัน จะต้องแก้ SSL ด้วย เมื่อคลิกที่ปุ่ม Config ให้เลือก Apache (httpd-ssl.conf) (ซึ่งจะเป็นเมนูที่ 2 ถัดจากเมนู httpd.conf)
    3.5 ให้ค้นหาตัวเลขพอร์ต 443 จากนั้นให้เปลี่ยนเป็นตัวเลขใหม่ ในตัวอย่างด่านล่างนี้ผมกำหนดให้เป็น Listen 4431  (แค่เติม 1 เข้าไป ^^")

    3.6 ให้ค้นหาอีกครั้ง จะเจอ <VirtualHost_default_:443> ให้เพิ่ม 1 ต่อท้ายเช่นกัน ก็จะได้ค่าใหม่เป็น <VirtualHost_default_:4431> และทำการบันทึกก่อนปิดไฟล์

   3.7 เมื่อแก้ไขพอร์ตเรียบร้อยให้ทำการ Start ทั้ง Apache และ MySQL อีกครั้ง ก็จะขึ้นตัวเลขและพื้นหลังสีเขียวก็เป็นอันใช้งานได้ครับ



สำหรับ Ubuntu 14.04 หากต้องการ PHP 5.5
เพียงแค่ใช้คำสั่ง sudo apt-get install lamp-server^
https://help.ubuntu.com/community/ApacheMySQLPHP

หรือติดตั้งแบบทีละขั้นตอนตามเว็บนี้ก็ได้ครับ
https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-install-linux-apache-mysql-php-lamp-stack-on-ubuntu-14-04


กรณีที่ต้องการ PHP เวอร์ชั่นอื่นๆ สามารถเลือกดาวน์โหลดหน้าเว็บนี้ XAMPP Linux
http://sourceforge.net/projects/xampp/files/XAMPP%20Linux/

หากดาวน์โหลดมาเป็นไฟล์ .run สามารถติดตั้งด้วยคำสั่ง terminal ดังเว็บนี้
http://askubuntu.com/questions/18747/how-do-i-install-run-files

แต่ถ้าโหลดมาเป็นไฟล์ .tar จะใช้วิธีตามวิดีโอนี้ก็ได้นะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=xaDzyo0ObvU

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP กับการคิดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็น 5%, 10%, 20% ตามช่วงราคาที่กำหนด

<?php     $total_price = 1000;     $discount = 0;         if($total_price >= 500 && $total_price < 1001){         $discount = 5;     }elseif($total_price >= 1001 && $total_price <= 5000){         $discount = 10;     }elseif($total_price >= 5001){         $discount = 20;     }         $discount_bath = ($total_price*$discount)/100; ?> <pre> ซื้อสินค้าครบ 0 ถึง 499 บาท ไม่ได้ส่วนลด ซื้อสินค้าครบ 500 ถึง 1000 บาท ได้ส่วนลด 5% ซื้อสินค้าครบ 1001 ถึง 5000บาท ได้ส่วนลด 10% ซื้อสินค้าครบ 5001 บาทขึ้นไป ได้ส่วนลด 20% </pre> <h3>รวมราคาสินค้า = <?php echo number_format($total_price,2);?></h3> <h5>ส่วนลด = <?php echo $discount;?>%  (<?php echo $discount_bath;?> บาท)</h5> <h2>ราคาหลังส่วนลด = <?php echo number_format($total_price - $discount_bath,2);?>บาท</h2> "PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต