ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2014

แบ็กอัพข้อมูลในฐานข้อมูล mysql ด้วย mysqldump เพื่อส่งออกเป็นไฟล์ sql

 บทความนี้จะแนะนำการแบ็กอัพฐานข้อมูลด้วยการเรียกใช้ mysqldump ช่วยในการส่งออกฐานข้อมูลเป็นไฟล์ sql เพื่อสำรองไว้กรณีฉุกเฉินครับ หลังจากที่ทดสอบแล้วใช้ได้ดีทีเดียวครับ แต่ใช้จริงต้องปรับตำแหน่งเรียก mysqldump C:\wamp\bin\mysql\mysql5.5.24\bin\mysqldump เป็นตำแหน่งที่ถูกต้องของแต่ละเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่อง @echo off echo Running dump... set MYDATABASE=xxxxxxx set MYSQLUSER=root set MYSQLPASS=xxxxxxx set BACKUPFILE="F:\Backup\MySQL\%MYDATABASE%_%date:~10,4%-%date:~4,2%-%date:~7,2%_TIME.%time:~0,2%.%time:~3,2%.sql" C:\wamp\bin\mysql\mysql5.5.24\bin\mysqldump -u%MYSQLUSER% -p%MYSQLPASS% --result-file=%BACKUPFILE% %MYDATABASE% echo Done! %BACKUPFILE% ทดสอบฐานข้อมูล 1GB ใช้เวลา 1 นาที ส่วนผลข้างเคียงยังไม่ทราบครับ ว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้าง หรือทำให้ฐานข้อมูลทำงานได้ช้าลงในระหว่างที่ทำการเรียกใช้ mysqldump มากน้อยแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ เขาบอกว่าดีกว่า Batch file ตัวเดิมที่ผมใช้อยู่ (แบบเดิมคัดลอกไดเรกทอรี่ฐานข้อมูลทั้งดุ้น) เพราะต้องทำหลังจากที่ไม่มีการเรียกใช้งานแล้...

วันนี้ไม่ได้มาสอน PHP แต่จะลองเขียนเกี่ยวกับเรื่องของ ความสัมพันธ์ของระบบฐานข้อมูล (Database Relationships)

       การสร้างเว็บเพจสำหรับแสดงผลข้อมูลต่างๆ ในภายหลัง หรือเมื่อเวลาที่ผู้ใช้งานต้องการนั้น เราจะต้องเอาไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลก่อน  เขียนเว็บเพจด้วยภาษาที่ทำงานฝั่งเซิร์ฟเวอร์เช่น PHP เพื่อเรียกรายงานต่างๆออกมาแสดง แต่ก่อนที่เราจะได้เขียนโค้ด PHP เพื่อติดต่อกับ ฐานข้อมูล MySQL หรือฐานข้อมูลใดๆนั้น เราก็จะต้องมีฐานข้อมูลอยู่ก่อนแล้ว สำหรับบทความนี้ จะพูดถึงเรื่องความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล แบบให้เห็นภาพง่ายๆ(รึเปล่า?) จากรอบกายเรานี่เอง 1. ความสัมพันธ์แบบ หนึ่งต่อหนึ่ง ( One to One)     ตัวอย่าง : พนักงานหนึ่งคน กำหนดให้รับผิดชอบงานหลัก เพียงงานเดียว (เป็นที่ปรารถณาของพนักงานทุกคนครับ งานหลักชัดเจน งานรองก็อย่ามากเกินไป แต่บางทีผู้บริหารก็มองว่าใช้ไม่คุ้ม) 2. ความสัมพันธ์แบบ หนึ่งต่อกลุ่ม ( One to Many)     ตัวอย่าง : พนักงานหนึ่งคน กำหนดให้รับผิดชอบงานหลัก หลายงาน (ซุปเปอร์ออฟฟิศแมน ใช้จนคุ้มกันเลยทีเดียว ถ้าน้อยเนื้อต่ำใจ คิดลาออกขึ้นมา คงหาคนมาทำงานแทนกันให้วุ่น) 3. ความสัมพันธ์แบบ กลุ่มต่อกลุ่ม ( Many to Many)...

HTML Form : เรียนรู้ข้อมูลแบบฟอร์ม HTML ก่อนนำไปใช้งานจริง

       ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับรับข้อมูล สิ่งที่จำเป็นจะต้งเรียนรู้ไม่แพ้ PHP เลยนั่นก็คือภาษา HTML อันที่จริงแล้วจะบอกว่าการสร้างเว็บเพจทุกหน้าจะแสดงผลด้วย HTML ถึงจะถูก แต่ในส่วนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้คือส่วนของแบบฟอร์มรับข้อมูล (HTML Form) ซึ่งจะประกอบด้วยช่องรับข้อมูลอยู่หลายชนิดด้วยกัน ดังนี้        1. ช่องรับข้อมูลแบบป้อนข้อความลงไปในช่องว่าง            1.1 Text Fields  ช่องรับข้อมูลแบบบรรทัดเดียว <input type="text/password"/>            1.2 Textarea ช่องรับข้อมูลแบบหลายบรรทัด <textarea></textarea>        2. ช่องรับข้อมูลแบบตัวเลือก เลือกได้อย่างเดียว            2.1 Radio Button <input type="radio"/>            2.2 Select Option <select>...option...</select>        3. ช่องรับข้อมูลแบบตัว...

ฝึกเขียน PHP OOP ด้วยการนับอายุตามปฏิทิน และคำนวณวันที่เกษียณอายุราชการแบบง่ายๆ

ฝึกเขียน PHP OOP ด้วยโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ กับการคำนวณยอดจำหน่ายคูปอง

       ภาษา PHP นอกจากใช้เขียนเว็บไซต์แล้วยังสามารถทำงานได้อีกหลายอย่าง เพราะสามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูลเช่น MySQL ดังนั้น เราก็สามารถสร้างเว็บเพจที่มีพลังได้ดังเช่นการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ        วันนี้เป็นอีกวันที่จะเขียนบทความแนวโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เพื่อใช้ฝึกเขียน PHP กันอีกครั้ง โดยจะเป็นการคำนวณยอดจำหน่ายคูปองในแต่ละวัน จากจำนวนยอดคงเหลือ ซึ่งโจทย์ปัญหาดังรูปด่างล่างนี้

การเขียนโปรแกรม PHP คำนวณเปรียบเทียบจำนวน และปริมาณสินค้า ในราคาที่ต่างกัน

       บทความนี้จะมาเขียนโปรแกรม PHP เพื่อคำนวณเปรียบเทียบจำนวน และปริมาณสินค้าที่ได้รับจากโจทย์ที่กำหนดมาทดสอบกันดู   สร้างไฟล์ทดสอบชื่อ compare_product.php