ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ข้อมูลชนิดอาร์เรย์ PHP Array



ข้อมูลชนิดอาร์เรย์

       ข้อมูลอาร์เรย์ เป็นรูปแบบข้อมูลที่มีความสำคัญมาก กับงานเขียนโปรแกรม จะใช้เก็บข้อมูลที่มีหลายมิติ หรือจะให้เข้าใจง่ายๆ ให้มองภาพของตาราง ที่มีหลายๆคอลัมน์ เช่น นักเรียน 1 คนมีข้อมูล ชื่อ นามสกุล ชั้นเรียน เกรดเฉลี่ย ที่อยู่ และข้อมูลอีกหลายอย่าง ดังนั้นการจะประกาศตัวแปรตามจำนวนข้อมูลทุกตัวนั้น จะเสียเวลาและเปลืองตัวแปรอย่างมาก 

       ดังนั้น การประกาศตัวแปรให้เป็นแบบ Array จึงช่วยให้งานเขียนโปรแกรมนั้นดูเป็นระเบียบเรียบร้อย และยังเรียกใช้งานได้สะดวก อย่างเช่นการดึงข้อมูลนักเรียนจากฐานข้อมูล เรามักจะพักข้อมูลไว้ในตัวแปรซึ่งจะเป็นแบบ Array เสมอ




ตัวอย่างการสร้างข้อมูลแบบ Array ในภาษา PHP 


<?php
$student['computer'] = array(
  array('name'=>'นางสาวณริณี ศักดิ์ดา', 'grade'=>'3.01', 'tel'=>'081-234-5678'),
  array('name'=>'นายณรงศักด์ อ่อนไหว', 'grade'=>'2.79', 'tel'=>'081-234-5679'),
  array('name'=>'นายทรงพล ยืนยง', 'grade'=>'2.56', 'tel'=>'081-234-5680'),
);
?>

ในตัวอย่างจะเป็นข้อมูลนักเรียน 3 คน ที่เรียนในสาขาคอมพิวเตอร์
ซึ่งแต่ละคนจะมีข้อมูล ชื่อ เกรดเฉลี่ย และเบอร์โทร
การที่เราจะแสดงข้อมูลออกมานั้น จะต้องทำการวนลูปให้ครบทุกแถว
ซึ่งวิธีที่ผมใช้บ่อยที่สุดคือ การใช้ foreach()

<?php
echo '<table border="1" cellpadding="3" cellspacing="0">';
echo '<tr style="background-color: #aaaaaa;">';
echo '<th>ชื่อ-นามสกุล</th><th>เกรดเฉลี่ย</th><th>เบอร์โทรศัพท์</th>';
echo '</tr>';
foreach($student['computer'] as $arr){
    echo '<tr>';
    echo '<td>'.$arr['name'].'</td>';
    echo '<td>'.$arr['grade'].'</td>';
    echo '<td>'.$arr['tel'].'</td>';
    echo '</tr>';
}
echo '</table>';

?>

ได้ผลลัพธ์ ดังนี้



ตัวอย่างที่ 2
<?php
$status1 = 'new';
$status2 = 'read';
$status3 = 'reply';

$statusText = array('new' => 'ข้อความใหม่', 'read' => 'อ่านแล้ว', 'reply' => 'ตอบกลับ');

echo 'ข้อความที่ 1 สถานะ = '. $status1 . ' >> '. $statusText[$status1];
echo 'ข้อความที่ 2 สถานะ = '. $status2 . ' >> '. $statusText[$status2];
echo 'ข้อความที่ 3 สถานะ = '. $status3 . ' >> '. $statusText[$status3];
<br>

?>

ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นการเช็กสถานะข้อความ


ลองเปรียบเทียบตัวแปรปกติ กับตัวแปรอาร์เรย์กับกล่องเก็บของใบหนึ่ง


ถ้ากำหนดให้กล่อง 1 ใบ บรรจุของได้เพียงชิ้นเดียว ตัวแปร $box ก็จะเก็บได้แค่หนังสือเล่มเดียว หรือของเล่นชิ้นเดียว หรืออะไรก็แล้วแต่ได้เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น ไม่สามารถเก็บของที่เกลื่อนกลาดดาษเดื่อนบนพื้นห้องที่แสนรกรุงรังได้หมด
 
วิธีการแก้ปัญหานี้สามารถทำได้โดยการนำกล่องหลายๆกล่องมาวางเรียงกัน ก็จะสามารถเก็บของชิ้นที่เหลือได้ทั้งหมด เหลือของกี่ชิ้นก็นำกล่องมาเพิ่มตามจำนวน เช่น
<?php
$box[0] = “Book”;
$box[1] = “Clock”;
$box[2] = “Gundum”;
$box[3] = “Pen”;
$box[4] = “Cap”;
?>
ประกาศตัวแปรอาร์เรย์แบบสั้นๆ ได้ดังนี้
<?php
$box = array(“Book”, “Clock”, “Gundum”, “Pen”, “Cap”);
?>
สำหรับตัวแปร Array นั้นเราไม่สามารถแสดงข้อมูลออกมาด้วยคำสั่ง echo แบบปกติได้ เพราะข้อมูลถูกเก็บไว้ในตำแหน่งต่างๆ ที่ไม่สามารถนำมาแสดงได้ ก็ต้องใช้การวนลูปเลือกมาแสดงทีละลำดับโดยเริ่มจากกล่องแรกที่จะอยู่ในตำแหน่ง 0 เสมอ ในที่นี้ก็คือ Book นั่นเอง สำหรับตัวอย่างการวนแสดงผลทีละรอบนั้น ดูได้จากตัวอย่าง PHP กับการทำซ้ำ



"PHP ไม่ได้สร้างสุดยอดโปรแกรม แต่ PHP ช่วยให้งานคุณง่ายขึ้นต่างหาก"

PHP CI MANIA PHP Code Generator 
โปรแกรมช่วยสร้างโค้ด ลดเวลาการเขียนโปรแกรม

สนใจสั่งซื้อเพียง 4,500 บาท
http://fastcoding.phpcodemania.com/

สนับสนุนค่ากาแฟผู้เขียนได้ที่

PayPal


ตัวอย่างการใช้งานเพิ่มเติม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แจกฟรี!! ระบบต่างๆที่พัฒนาด้วย PHP สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ

       สำหรับหลายท่านที่ขอโค้ดเข้ามาทาง Inbox ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือถามถึงระบบต่างๆหลังไมค์มานั้น ส่วนใหญ่ก็มีแจกอยู่แล้วในเว็บบอร์ด ThaiCreate.Com นะครับ และด้านล่างนี้ก็เป็นระบบต่างๆที่แจกให้นำไปลองใช้ลองศึกษากันครับ

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

การดึงข้อมูล MySQL มาแสดงในปฏิทิน Fullcalendar ด้วย PHP

หลักการทำงาน เรียกข้อมูลจากตาราง tb_event ด้วยฟังก์ชั่นของ MySQLi ข้อมูลจากฐานข้อมูลจะถูกวนลูปเก็บไว้ใน $data และจะถูกส่งไปที่ Fullcalendar ด้วยการแปลงข้อมูลจาก PHP ให้อยู่ในรูปแบบ JSON อาร์เรย์ด้วยฟังก์ชั่น json_encode() PHP Code <?php //Database $data = array(); $link = mysqli_connect("127.0.0.1", "tobedev", "1234", "tobedev_example"); mysqli_set_charset($link, 'utf8'); if (!$link) {     echo "Error: Unable to connect to MySQL." . PHP_EOL;     echo "Debugging errno: " . mysqli_connect_errno() . PHP_EOL;     echo "Debugging error: " . mysqli_connect_error() . PHP_EOL;     exit; } $query = "SELECT * FROM tb_event"; if ($result = $link->query($query)) {     /* fetch object array */     while ($obj = $result->fetch_object()) {        $data[] = array(                 ...