ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2013

สร้างปฏิทิน รายงานยอดที่พนักงานทำได้ในแต่ละเดือนแบบง่ายๆ

ดัดแปลงบทความสร้างปฏิทินนะครับ แต่ในส่วนของการเช็กตรวจสอบว่าครบ 7 คอลัมน์ขึ้นแถวใหม่ ให้ตัดออก เราจะมาสร้างปฏิทินที่แสดงวันที่แถวเดียว เพื่อแสดงยอดของแต่ละวันของเดือนที่เลือกครับ โดยเวลาส่งค่าวันที่เดือนไหนก็ดึงค่าวันที่เริ่มต้น และวันที่สุดท้ายของเดือนออกมาเก็บไว้ และใช้คำสั่งวนลูป for() ให้ครบตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันที่สุดท้ายของเดือน ก็จะได้หัวตารางที่แสดงวันที่ทั้งหมดของเดือน และเราจะกำหนดให้แสดงข้อมูลแต่ละแถว เป็นรายชื่อพนักงานละกันนะครับ โดยจะดึงข้อมูลมาจากฐานข้อมูลยอดขายของเดือนที่กำหนดนี้ออกมาจัดกลุ่มตามรายชื่อพนักงาน ว่าแต่ละวันพนักงานแต่ละคนมียอดขายเท่าไหร่กันบ้าง

เทคนิคการสร้างหน้าเว็บหน้าเดียว และดึงเนื้อหาจากหน้าอื่นๆมาแสดง

การเขียนโปรแกรมภาษา PHP  มีดีหลายอย่าง ^O^ แรกเริ่มเดิมที ก็ฝึกเขียนเว็บเป็นหน้าๆ ด้วยภาษา HTML เรื่อยไปครับ ถ้าเขียนหน้าใหม่เพิ่มแต่ละที ก็คัดลอกซอร์สโค๊ดของหน้าเดิมเพื่อเอามาแก้ไขใหม่ พอแก้ไขเมนูแต่ละที ถ้ามีสิบหน้ายี่สิบหน้า  ก็ต้องไล่แก้กันไม่หวาดไม่ไหว เลยลองใช้ IFRAME มาช่วยจัดหน้าดู ก็ช่วยได้เยอะครับ  แยกไฟล์เมนู แยกไฟล์เนื้อหา แยกไฟล์ส่วนหัว พอแก้ไขลิงค์เมนู หรือแก้แบนเนอร์ ก็แก้แค่ที่ไฟล์เดียว หน้าอื่นๆ ก็จะเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ ก็เพราะดึงจากไฟล์เดียวกันนี้นี่เอง แต่พอใช้งานสักพักก็เริ่มขัดใจเรื่องการดีไซน์หน้าเว็บที่ไม่ค่อยยืดหยุ่น เหมือนชีวิตอยู่แต่ในกรอบ  ออกไปไหนอย่างอิสระดั่งใจนึกคิดก็ไม่ได้ จนกระทั่งได้รู้จัก PHP  คำสั่ง include ของ PHP นั้นช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะทีเดียว สร้างเว็บหน้าหลักหน้าเดียว  แล้วก็ทำการเรียกเนื้อหาจากไฟล์อื่นๆ มาแสดงได้อย่างง่ายๆ หน้าเว็บก็ได้สัดส่วนสวยงามทีเดียว บทความนี้ขอจั่วหัวไว้เพียงเท่านี้ก่อน ไว้จะนำตัวอย่างการออกแบบระบบช่วยงานครู  ที่เขียนขึ้นด้วย PHP แบบทีละขั้นๆ มาให้ได...

สร้างแบบฟอร์มล็อกอิน HTML + PHP

       ผมจะสร้างระบบตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นการทำงานของสคริปต์ PHP ที่ใช้ในการล็อกอินอย่างง่ายๆ นะครับ โดยที่ผมจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นในไดร์ฟที่เราได้กำหนดให้เป็น Directory Root สำหรับรันสคริปต์ PHP ซึ่งผมกำหนดเอาไว้ที่ D:\www ดังนั้นผมจะสร้างโฟลเดอร์ teacher_assistant ขึ้นมาใหม่จะได้พาธเป็น D:\www\teacher_assistant สำหรับการเข้าถึง จะใช้ URL ดังนี้ http://localhost/teacher_assistant หลังจากสร้างโฟลเดอร์เสร็จเรียบร้อยก็จะเริ่มกระบวนการเตรียมโครงสร้างโปรเจ็กต์ด้วยเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรมชื่อว่า eclipse ซึ่งดูวิธีการสร้างโปรเจ็กต์ได้จากบทความ เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วยโปรแกรม eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php ในบทความเป็นการสร้างโปรเจ็กต์ที่มีพาธเป็นโฟลเดอร์ login แต่ในที่นี้ต้องเป็นพาธให้ตรงกับโฟลเดอร์ใหม่ที่เราได้สร้างขึ้นด้วยนะครับ

PHP Calendar : ฝึกสร้างปฏิทินไว้ใช้ในงานต่างๆ

การสร้างตารางปฏิทินนั้น มีขั้นตอนหลักๆ อยู่ประมาณ 5 ขั้นตอนครับ 1. ค้นหาตำแหน่งของวันที่ 1 ของเดือนที่ต้องการ $startPoint = date('w', $timeDate); //จุดเริ่มต้น วันในสัปดาห์ 2. หากไม่ได้เริ่มจากช่องซ้ายมือช่องแรกสุด ให้แทนที่ด้านหน้าเป็นช่องว่าง if($startPoint < 7){ //ถ้าวันอาทิตย์จะเป็น 7     echo str_repeat("<td> </td>", $startPoint); } 3. เริ่มวนลูปตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันสุดท้ายของเดือนนั้น for($i=1; $i <= $lastDay; $i++) 4. สร้างข้อมูลให้ครบ 7 วัน หรือ 7 คอลัมน์ ถ้าครบขึ้นบรรทัดใหม่ if($col % 7 == false) 5. ถ้าวันที่สุดท้ายของเดือนไม่ได้อยู่ช่องสุดท้าย ให้แทนที่ช่องที่เหลือด้วยค่าว่าง if($col < 7){ // ถ้ายังไม่ครบ7 วัน     echo str_repeat("<td> </td>", 7-$col); } ผลลัพธ์ที่ได้

บทเรียนออนไลน์ PHP : การทำงานของคำสั่งวนลูป for()

ตัวอย่างการเขียนโปรแกรม PHP กับการทำงานของฟังก์ชั่น for() แบบทีละขั้นตอน เพื่อทำความเข้าใจกับหลักการทำงานของฟังก์ชัน for อย่างง่าย START จากตัวอย่างการทำงานของโค๊ด จะกำหนดให้ $i มีค่าเริ่มต้นเท่ากับ 1 for( $i=1 ;...... การทำงานในส่วนนี้จะเกิดขึ้นครั้งเดียว คือครั้งแรกที่เข้าสู่บรรทัดนี้ และจะเริ่มทำงานบรรทัดในลูปเป็นลำดับต่อไป คือให้แสดงค่า $i ออกมา echo $i; เมื่อทำงานตามคำสั่งที่อยู่ในลูปจนหมดแล้ว จะเข้าสู่คำสั่งเพิ่มค่า $i ขึ้น 1 ค่า for($i=1;$i <= 10; $i++ ){ . . } เมื่อเพิ่มค่าเสร็จแล้วจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขว่ายังเป็นจริงอยู่หรือไม่ for($i=1; $i <= 10 ; $i++){ . . } ครั้งแรก $i มี่ค่าเท่ากับ 1 เมื่อเพิ่มค่าแล้วก็เท่ากับ 2 2 ยังคงน้อยกว่า 10 ดังนั้นจะเข้าสู่การทำงานคำสั่งที่อยู่ในลูปก็คือ echo $i; กระทั่งถึงรอบที่ 9  $i มีค่าเท่ากับ 9 $i++ มีค่าเท่ากับ 10 $i <= 10 ตรวจสอบ $i มีค่าน้อยกว่า หรือ เท่ากับ 10 ยังคงเป็นจริง โปรแกรมจะแสดงค่า $i ออกมา นั่นก็คือ 10 นั่นเอง เมื่อโปรแกรมทำงา...

เริ่มต้นสร้างโปรเจ็กต์ ด้วย eclipse เครื่องมือเขียนโปรแกรม php

หลังจากที่ติดตั้งชุดโปรแกรมต่างๆ สำหรับการเขียนโปรแกรม PHP เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มาบทความนี้ เราจะเริ่มสร้างโปรเจ็กต์งานของเรากันเลยนะครับ ที่จริงแล้วเราสามารถที่จะเขียนโปรแกรม PHP ด้วยโปรแกรม Text Editor ทั่วไปได้ เช่น notepad ที่มาพร้อมกับ Windows หรือจะดาวน์โหลด notepad++ ที่มีขนาดเล็กใช้งานสะดวกรวดเร็ว หรือสำหรับคนที่ใช้ Ubuntu ก็มีโปรแกรม Gedit ที่มาพร้อมกับระบบให้ใช้งานได้อยู่แล้ว สำหรับเครื่องมือต่างๆที่ใช้นั้น เข้าไปอ่านได้ที่ เครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรม PHP 

ขั้นตอนการดาวน์โหลด และติดตั้ง eclipse โปรแกรมช่วยเขียนโค๊ด PHP

หลังจากที่ดาวน์โหลด eclipse มาแล้วเราจะสามารถคลายซิปไฟล์ออกมาแล้วเรียกใช้งานได้ทันที แต่หากเครื่องที่ใช้ยังไม่ได้ติดตั้ง Java ก็จะเกิดข้อความแจ้งเตือนให้ติดตั้ง Java Developer Kit ก่อน พิมพ์คำว่า eclipse php ในช่องค้นหาของเว็บไซต์ http://www.google.co.th เลือกลิงค์หัวข้อ PHP Development Tools (PDT) - Downloads

ดาวน์โหลด ติดตั้งและเริ่มใช้งานโปรแกรม phpMyAdmin

โปรแกรม phpMyAdmin เป็นตัวจัดการฐานข้อมูลที่ใช้งานสะดวกผ่านทางเว็บบราวเซอร์ทันที เพียงแค่ดาวน์โหลด และนำไปวางไว้ในโฟลเดอร์ root ที่เราได้กำหนดค่าไว้ในขั้นตอนการติดตั้ง Appserv เพื่อสร้างเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้พร้อมสำหรับการพัฒนาโปรแกรม ที่จริงแล้ว phpMyAdmin สามารถเรียกใช้งานได้ทันทีหลังจากติดตั้ง Appserv เรียบร้อยแล้ว แต่ก็เป็นเวอร์ชั่นเก่าที่ส่วนติดต่อผู้ใช้ไม่ค่อยจะสวยงามเท่าเวอร์ชั่นใหม่ๆ  สำหรับวิธีติดตั้งนั้นก็ง่ายๆ ดาวน์โหลดไฟล์แล้วคลายซิปไฟล์ไว้ในไดเรกทอรี่ root ที่ใช้รันโปรแกรม php ที่เราตั้งค่าไว้ตอน ติดตั้ง Appserv นั่นเอง

การติดตั้งชุดโปรแกรม appserv เพื่อทำเว็บเซิร์ฟเวอร์

หลังจากที่ได้ดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเซิร์ฟเวอร์มาแล้ว ในบทความก่อน บทความนี้เราจะเริ่มการติดตั้งชุดโปรแกรม appserv เพื่อใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ให้พร้อมใช้งานโปรแกรมที่เราพัฒนาด้วยภาษา PHP กันเลยครับ